รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00588


ชื่อวิทยาศาสตร์

Asplenium longissimum Blume

สกุล

Asplenium L.

สปีชีส์

longissimum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
เฟินข้าหลวงใบยาว
ชื่อท้องถิ่น
ผักกูดดำ (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
Spleenwort
ชื่อวงศ์
ASPLENIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เฟินขึ้นบนพื้นดินหรืออิงอาศัย ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ๆ ตั้งขึ้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ยอดอ่อนมีเกล็ดสีน้ำตาลดำหนาแน่น

ใบ ใบประกอบ มักห้อยลง ยาว 1-2 ม. ก้านใบสีม่วงคล้ำเป็นร่อง ยาวได้ถึง 20 ซม. ใบย่อยส่วนมากมี 30-50 คู่ ใบคู่ล่างอยู่ใกล้เหง้า ห่างไม่เกิน 3 ซม. ยาว 8-10 ซม. กว้าง 1.5-2 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนเบี้ยว เว้าเป็นติ่ง ขอบจักซี่ฟันตื้น ๆ แผ่นใบด้านล่างมีเกล็ดสีดำรูป 3 แฉกกระจาย ก้านสั้นหรือไร้ก้าน

สปอร์ กลุ่มอับสปอร์สีน้ำตาลเรียงตัวเป็นแนวใกล้เส้นแขนงใบ ยาวประมาณ 1 ซม. มีเยื่อคลุม

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นตามป่าดิบชื้น ความสูงระดับต่ำ ๆ ประมาณ 200 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว ชวา สุมาตรา และภาคใต้ของไทยที่นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้สปอร์

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสวน ปลูกเป็นไม้กระถาง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2560. “Asplenium longissimum Blume.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Asplenium0longissimum0Blume (18 กรกฎาคม 2560)

Ferns of Thailand, Laos and Cambodia. 2016. “Asplenium longissimum Blume.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://rbg-web2.rbge.org.uk/thaiferns/factsheets/index.php?q=Asplenium_longissimum.xml (18 กรกฎาคม 2560)

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Asplenium longissimum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=1540 (18 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้