รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06119


ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma sp.

สกุล
Curcuma
สปีชีส์
-
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Curcuma alismatifolia Gagnep.

ชื่อไทย
ปทุมมากิโมโนใหญ่
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ZINGIBERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ตัดดอก ไม้ล้มลุก มีเหง้า สูง 60-90 ซม.

ใบ ใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน ปลายและโคนใบแหลม

ดอก ดอกมีลักษณะคล้ายปทุมมาพันธุ์กิโมโน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ดอกสีขาว และสีม่วง ออกบนช่อดอกสีชมพู ซึ่งเกิดจากใบประดับ เรียงเวียน ซ้อนกันแน่น กลีบรองดอกรูปกรวย ยาว 8-12 มม. กลีบดอก เป็นหลอด ยาว 15-18 มม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก รูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง กลีบปากยาวประมาณ 2.8 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. สีขาวหรือม่วง ตรงกลางกลีบบริเวณ เกสรผู้ อันเดียว อับเรณูยาว 7-8 มม. บริเวณโคนมีเดือยสั้น รังไข่ผิวเกลี้ยง

ผล รูปไข่ ผิวเกลี้ยง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ประเทศไทย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามป่าเต็งรังมักขึ้นตามที่โล่ง ในดินปนทรายที่ชุ่มน้ำ 

ถิ่นกำเนิด

-

การกระจายพันธุ์

ต่างประเทศพบแถบอินโดจีน ลาว กัมพูชา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแบ่งหัว

ระยะเวลาการติดดอก
กรกฏาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ให้ดอกสวย นิยมนำมาปลูกและพัฒนา เป็นไม้ประดับ และไม้หัวระดับอุตสาหกรรม มีการปรับปรุงพันธ์ุและผลิตลูกผสมจำนวนมาก ส่งออกไปต่างประเทศในชื่อ "Siam tulip" ช่อดอกอ่อนรับประทานได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ปทุมมา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1446 (12 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Curcuma alismatifolia Gagnep.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-235187 (12 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้