Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Gluta</em> <em>usitata</em> (Wall.) Ding Hou</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Melanorrhoea</em> <em>usitata</em> Wall.</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ต้น: </strong>ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นร่องยาว เปลือกชั้นในสีชมพูอ่อน กิ่งอ่อนและยอดปกคลุมด้วยขนยาวสีขาว กิ่งแก่เกลี้ยง หรือมีขนสั้นๆ น้ำยางเหนียวใส เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ชัดเจน ใบคล้ายใบมะม่วงหิมพานต์ มักพบแมลงไข่ไว้ตามใบและจะเกิดเป็นตุ่มกลมๆตามใบ</p><p><strong>ใบ</strong>: ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3.5-12 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายแหลมหรือกลม โคนมนหรือรูปลิ่ม ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบแก่มีสีเขียวเข้ม มีไขปกคลุม ผิวใบมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้านโดยเฉพาะเมื่อใบอ่อน มีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนสีน้ำตาลประปราย ท้องใบมีขนหนาแน่นแต่จะหลุดไปเมื่อใบแก่เต็มที่ เส้นแขนงใบ ข้างละ 15-25 เส้น นูนชัดเจนทางด้านบน เป็นแบบร่างแหชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซม.</p><p><strong>ดอก: </strong>ออกเป็นช่อ<strong> </strong>แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง หรือใกล้ปลายกิ่งและซอกใบ มักทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเริ่มบานจากสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงสด ดอกออกเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นในซอกใบบนๆ ช่อดอกยาวได้ถึง 35 ซม. ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม สีน้ำตาลปกคลุม ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกตูม รูปขอบขนาน มีขนประปราย ที่ปลายมีขนเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาวมีแถบสีเหลืองแกมเขียวตรงกลาง กลีบดอก 5-6 กลีบ แผ่กว้าง ปลายแคบแหลม ด้านหลังกลีบมีขน กลีบดอกขยายขนาดขึ้น และกลายเป็นปีกเมื่อติดผล จานฐานดอกเกลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ในดอกแก่กลีบเลี้ยงรูปร่างคล้ายหมวก กว้าง 0.7-1.8 มม. ยาว 3-7.5 มม. สีแดง ผิวด้านในมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ประมาณ 30 อัน ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ติดด้านข้างของรังไข่</p><p><strong>ผล: </strong>ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 ซม. มีส่วนของกลีบดอกที่ขยายเป็นปีก ที่โคนก้านผลสีแดง มี 5 ปีก รูปขอบขนาน ระหว่างโคนปีกกับผลมีก้านเชื่อมยาว 1.5 ซม. ปีกยาว 5-10 ซม. มีเส้นปีกชัดเจน</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบขึ้นกระจายทั่วไป ในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้าโล่ง เขาหินปูน ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,000 เมตร</p>
ถิ่นกำเนิด
การกระจายพันธุ์
การปลูกและการขยายพันธุ์
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>เปลือกต้น</strong> รสเมา ต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค บิด ท้องร่วง ปวดข้อเรื้อรัง เข้ายาบำรุงกำลัง ขับเหงื่อ ช่วยให้อาเจียน เป็นยารักษาโรคเรื้อน </p><p><strong>เปลือกราก</strong>รสเมาเบื่อ แก้ไอ แก้โรคตับ ท้องมาน พยาธิลำไส้ รักษาโรคผิวหนัง </p><p><strong>ผล</strong> เรียกว่า "ลูกรักเทศ" แก้กุฏฐโรค (โรคเรื้อน)<strong> </strong></p><p><strong>เมล็ด</strong> ใช้แก้ปากคอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดฟัน แก้คุดทะราด ริดสีดวง แก้อักเสบและปวดไส้เลื่อน <strong>น้ำยาง </strong>รสขมเอียน เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด น้ำยางผสมน้ำยางสลัดไดรักษาโรคผิวหนัง กลาก ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน รักษาโรคตับ ผสมกับน้ำผึ้ง รักษาโรคที่ปาก เอาสำลีชุบอุดฟันที่เป็นรู แก้ปวด ทำยารักษาโรคเรื้อน โรคตับ และพยาธิ </p><p><strong>น้ำยาง</strong> มีประโยชน์ใช้ทำน้ำมันเคลือบเงา น้ำยางใสเมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และเป็นมัน ใช้ทาไม้รองพื้นสำหรับปิดทอง ในการทำเครื่องเขิน ขั้นตอน “ลงรัก ปิดทอง”</p><p><strong>ลำต้นหรือราก</strong> ผสมลำต้นหรือรากมะค่าโมง ต้มน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด </p><p><strong>แก่น </strong>ต้มน้ำอาบรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน</p>
หมายเหตุ
แหล่งอ้างอิง
<p>กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=3 (6 เมษายน 2560)</p><p>ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. 2556. “<em>Gluta usitata </em>(Wall.) Ding Hou” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=12 (6 เมษายน 2560)</p><p>ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=276 (6 เมษายน 2560)</p><p>ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_page.asp (6 เมษายน 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้