Dianella ensifolia (Linn.) DC.
ลำต้น ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นค่อนข้างแบนไม่แตกกิ่ง มีเหง้าสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกเรียงสลับกันขึ้นมาจากโคนกอ รูปขอบขนานแกมหอก ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 30-60 ซม. ขอบใบเรียบ
ดอก ดอกสีขาวแกมม่วง ออกเป็นช่อแบบกระจุก แยกแขนงจากกลางต้น ยาว 30-60 ซม. มีใบประดับขนาดใหญ่รองรับ กลีบรองดอกและกลีบดอกเหมือนกัน จำนวน 6 กลีบ พบเกสรเพศผู้ 6 อัน มีสีเหลือง
ผล ผลมีสีม่วงเข้ม รูปทรงกลม มี 3 พู พอสังเกตได้ ขนาด 0.8 ซม. เมล็ดรูปรี ปลายค่อนข้างแหลม เมล็ดเมื่อแก่มีสีดำ ผิวเกลี้ยงเป็นมัน
ในประเทศไทยพบตามป่าดงดิบและที่ชื้น ที่ระดับความสูง 500 – 1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
พบในอินเดีย เนปาล จีนตอนใต้ ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
เพาะเมล็ด ชำกิ่ง
-ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ รากและใบ เข้ายากับแส้ม้าฮ้อ บีปลากั้ง และซิ่นบ่ฮี ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลังทางเพศ ราก บำรุงกำหนัด ขับปัสสาวะ
-ยาพื้นบ้าน ใช้ ทั้งต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งและแผลเรื้อรัง (อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม รักษายาก) ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องผูก ช่วยขับลม
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2542. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2.โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 151 น.
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “หญ้าหนูต้น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1029&view=showone&Itemid=59 (13 ตุลาคม 2559)
Phargarden.com. 2010. “หญ้าหนูต้น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=133 (13 ตุลาคม 2559)
กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้