รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00626


ชื่อวิทยาศาสตร์

Baccaurea ramiflora Lour.

สกุล

Baccaurea Lour.

สปีชีส์

ramiflora

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Baccaurea cauliflora Lour.

Baccaurea oxycarpa Gagnep.

Gatnaia annamica Gagnep.

Pierardia sapida Roxb.

ชื่อไทย
มะไฟ
ชื่อท้องถิ่น
ขี้หมี (ภาคเหนือ), แซเครือแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ผะยิ้ว (สุรินทร์), หัมกัง (เพชรบูรณ์)
ชื่อสามัญ
Rambeh Bambi
ชื่อวงศ์
PHYLLANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 13-17 ม. ตามยอดและปลายกิ่งอ่อนมีขน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปใบหอก รูปใบหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5-8.0 ซม. ยาว 10.5-22.0 ซม. เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5-6.0 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อยาว ๆ ตามซอกใบและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5.0-7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2-3 มม. กลีบรองดอกมี 4-5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4-8 อัน ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก กลีบรองดอกรูปขอบขนานแคบ ๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2-3 อัน ภายในมี 3 ช่อง 

ผล ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1-3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน

เมล็ด แบนอยู่ภายในผล ซึ่ง 1 ผล มีประมาณ 1-3 เมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นในป่าดงดิบใกล้ลำธาร หรือที่ชื้นในป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูง 100-1,300 ม. 

ถิ่นกำเนิด

อินโดนีเซีย 

การกระจายพันธุ์

ภูฐาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-เมษายน
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม-ตุลาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ 
ราก น้ำต้มราก รวมกับสมุนไพรอื่น ๆ ดื่มแก้ท้องร่วง หลังการคลอดบุตร เผาไฟกินเป็นยาถอนพิษ ดับพิษร้อน ทาแก้บวม อักเสบ
รากใช้รากสด หรือรากแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ฝีภายใน ดับพิษร้อน พิษกำมะลอและเริม
เปลือก ทำเป็นยาทาภายนอก แก้โรคผิวหนังบางชนิด
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเครื่องเรือน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “มะไฟ, มะไฟป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=156&name=มะไฟ, มะไฟป่า (14 ธันวาคม 2559)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  “มะไฟ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.natres.psu.ac.th/FNR/vfsouthern/index.php/2013-10-26-10-11-55/9-uncategorised/131-2014-01-19-10-13-22 (14 ธันวาคม 2559)

ชื่อพรรณไม้เต็มสมิตินันทน์. “มะไฟ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=มะไฟ&keyback=มะไฟ (14 ธันวาคม 2559)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. “มะไฟ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=839 (14 ธันวาคม 2559)

Flora of Pakistan. “Baccaurea ramiflora.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200012541 (14 ธันวาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Baccaurea ramiflora Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-18676 (14 ธันวาคม 2559)

wikipedia. “มะไฟ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/มะไฟ (14 ธันวาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้