รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00631


ชื่อวิทยาศาสตร์

Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh

สกุล

Baliospermum Blume

สปีชีส์

solanifolium

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Baliospermum angulare Decne. ex Baill.

Croton solanifolius Geiseler

ชื่อไทย
ตองแตก
ชื่อท้องถิ่น
เปล้าตอง (แพร่)/ แตกถ่อนดี (ภาคกลาง)/ น่องป้อม ทนดี (ตรัง)/ โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ นองป้อม ลองปอม (เลย)/ ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีขาว

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ใบที่ยอดรูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-7 ซม. ใบที่โคนต้น ขอบใบหยักเว้า 3-5 แฉก รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 7-8 ซม. ยาว 5-18 ซม. ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างไม่สม่ำเสมอ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบกว้าง ผิวใบหยาบ ก้านใบยาว 2-6 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกที่ปลายช่อ ช่อดอกยาว 1-8 ซม. ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเหลืองอมเขียว เกสร 14-25 อัน ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อ ช่อดอกยาว 0.1-1.0 ซม.ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 มม. กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม สีเขียว ไม่มีกลีบดอก

ผล ห้อยลง ค่อนข้างกลม แบ่งเป็น 3 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1.3 ซม. ปลายผลเว้า เมื่อผลแก่จะแตกออก กลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ขั้วผลคงทน ขยายตัวเมื่อติดผล

เมล็ด หนึ่งผลมี 3 พู 3 เมล็ด ผลรูปไข่ สีน้ำตาล กว้าง 3 ยาว 3.5 มม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า พบในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น จากระดับทะเลปานกลางจนถึงระดับ 900 ม.

ถิ่นกำเนิด

ทวีปเอเชีย

การกระจายพันธุ์

พบในปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ชายฝั่งทะเลมาเลเซีย เกาะบอเนียว สุมาตรา ชวา สุราเวศรี มาลูกู เลสเซอร์ และเกาะซันดร้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
มิถุนายน-พฤศจิกายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น บำรุงน้ำดี เปลือก เป็นยาถ่าย แก้พยาธิ แก้เสมหะ แก้ฟกบวม
ราก ต้มกินช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลม ขับเสมหะ แก้เสมหะ แก้พยาธิ แก้ลมจุกเสียด แก้ไข้ แก้บวมน้ำ แก้ดีซ่าน แก้ม้ามอักเสบ และรักษาโรคโลหิตจาง
ใบ ตำพอกแผล ห้ามเลือด ต้มกับน้ำดื่มช่วยขับเหงื่อ ตากแห้งนำมาชงเหมือนชา แก้อาการง่วง เป็นยาถ่าย แก้หืดหอบ ถอนพิษไข้
เมล็ด เป็นยาถ่ายอย่างแรง น้ำมันในเมล็ดเป็นพิษมาก ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ปวดตามข้อ นำมาตำทาถูบริเวณที่ปวดเมื่อย ทำให้ร้อน เลือดไหลเวียน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ตองแตก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2266 (26 ตุลาคม 2559)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “ตองแตก, เปล้าตองแตก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=31&name=ตองแตก, เปล้าตองแตก (25 ตุลาคม 2559)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ตองแตก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=1181 (26 ตุลาคม 2559)

Flora of China. “Baliospermum solanifolium.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=250084089 (20 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-19558 (20 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้