รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06338


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ficus sp.

สกุล
Ficus
สปีชีส์
-
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ไทรเวียดนาม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะของพืชสกุล Ficus

ลำต้น เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่างๆ มีน้ำยางขาวหรือใส

ใบ หูใบหุ้มตา กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบด้านล่างมักมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้โคนใบ หรือมีผลึกซิสโทลิท (cystoliths)

ดอก ขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกไว้ภายใน เรียกว่า syconium หรือ fig มีช่องเปิด มักมีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวม 2-6 กลีบ แยกหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวม 3-5 กลีบ แยกหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 1-2 อัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม หรือ gall flower ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของต่อไทร (wasp) บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศหรือ neuter flower คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับแมลงแบบพึ่งพากัน

ผล ขนาดเล็ก คล้ายแบบผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

-

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด การปักชำ หรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา
หมายเหตุ

สกุล Ficus มีมากกว่า 800 ชนิด ส่วนใหญ่พบในเขตร้อน ในไทยมีประมาณ 115 ชนิด เป็นพืชต่างถิ่น 7-8 ชนิด หลายชนิดผลสุกกินได้ และมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง ชื่อสกุลมาจากภาษาละตินที่ใช้เรียกชนิด F. carica L. 

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “ไทร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?words=ไทร&typeword=group (9 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้