Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Basella rubra</em> L.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p>-</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ต้น</strong> ไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ ยาวได้ถึง 6 ม. ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียวม่วงหรือสีม่วงอมแดง</p><p><strong>ใบ</strong> ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ ก้านใบสั้น ยาว 5-10 มม. ใบมีทั้งรูปไข่และรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า กว้าง 4-10 ซม. ยาว 5-15 ซม. ใบค่อนข้างหนา เมื่อขยี้ใบจะมีเมือกสีใส</p><p><strong>ดอก</strong> ออกเป็นช่อตามซอกใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ยาว 3-21 ซม. ไม่มีก้านดอก ดอกเล็กมาก ขนาด 3-4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาว ชมพู หรือม่วง ฐานติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 3 อัน</p><p><strong>ผล</strong> ลักษณะกลมแบน กว้าง 5-8 มม. ยาว 5-10 มม. เมื่อผลแก่สีม่วงอมดำ มีเนื้อนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วง</p><p><strong>เมล็ด</strong> หนึ่งผลมี 1 เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบได้ในที่โล่งแจ้ง ตามป่าทั่วไป ในที่ราบหรือบนเขา ที่ระดับความสูงถึง 2,000 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>-</p>
การกระจายพันธุ์
<p>พบในประเทศแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นพืชปลูกในประเทศเขตร้อนในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และปักชำกิ่ง</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>ต้น</strong> ตำเอาน้ำทาแก้อักเสบ พิษฝี กินแก้พิษฝีดาษ ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ แก้ท้องผูก ท้องแน่น ท้องเฟ้อ ไส้ติ่งอักเสบ ทั้งต้นใช้แก้หืด แก้ไอ ก้านผักปลังแดง แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้ท้องผูกและลดไข้ ใช้ลำต้นตำละเอียดทาช่องคลอด เพื่อให้คลอดง่ายขึ้น</p><p><strong>ราก</strong> ใช้เป็นยาถู หรือนวดให้เลือดไหลเวียน แก้มือเท้าด่าง สระผมแก้รังแค ต้มน้ำดื่มแก้ท้องผูก น้ำที่คั้นจากรากเป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี ช่วยขับอุจจาระและปัสสาวะ</p><p><strong>ใบ</strong> นำมาตำใช้พอกแผลสด แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ฝีอักเสบ ฝีดาษ ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้กับสตรีมีครรภ์และเด็ก เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก แก้บิด รักษากระเพาะอาหารพิการ ริดสีดวงทวาร และโรคหนองใน</p><p><strong>ดอก</strong> คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังแห้งแตก โรคผิวหนังกลากเกลื้อน โรคเรื้อน แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ และพิษฝีดาษ</p><p><strong>ผล</strong> ใช้แก้พิษต่าง ๆ สีของผลช่วยแต่งอาหารให้น่ารับประทาน</p><p><strong>ใบ ดอกอ่อนและยอดอ่อน</strong> นำมารับประทานเป็นอาหาร เป็นผักสด หรือปรุงใส่แกง</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>มูลนิธิโครงการหลวง.2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720 น.</p><p>สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Indian Spinach, Ceylon spinach.” [ระบบออนไลน์]. https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1347&name=Indian%20Spinach,%20Ceylon%20spinach&txtSearch=&sltSearch= แหล่งที่มา (15 ตุลาคม 2559)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้