รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06349


ชื่อวิทยาศาสตร์

Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl

สกุล
Stachytarpheta
สปีชีส์
Stachytarpheta jamaicensis
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Abena jamaicensis (L.) Hitchc.

Stachytarpheta bogoriensis Zoll. & Moritzi

Stachytarpheta pilosiuscula Kunth

Valerianoides jamaicense (L.) Kuntze

 

ชื่อไทย
พันงูเขียว
ชื่อท้องถิ่น
เจ๊กจับกบ (ตราด), เดือยงู พระอินทร์โปรย (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), สี่บาท สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหางงู (ภาคใต้), ลังถึ่งดุ๊ก (กระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ
Brazilian tea, Bastard vervain, Jamaica False veravin, Vervain, Arron’s Rod, Jamaica snakeweed, Blue snakeweed, Snakeweed
ชื่อวงศ์
VERBENACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.5-1.0 ม. เมื่อต้นแก่เนื้อไม้บริเวณโคนต้น จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นคู่จากโคนต้นและแผ่กว้างออก

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบสาก เนื้อใบย่นเป็นคลื่นเล็ก ๆ

ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวเชิงลดที่ปลายกิ่ง แกนช่อดอกยาว 5-30 ซม. ดอกสีม่วง ไม่มีก้านดอก ตรงกลางดอกสีขาว ดอกบานขนาด 1 ซม. กลีบดอกโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบนแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ 2 อัน เป็นหมัน 2 อัน ก้านเกสรสั้นโผล่ไม่พ้นปากหลอดกลีบดอก

ผล ลักษณะยาวแคบ รูปขอบขนานขนาดเล็ก กว้าง 1.5-2.0 มม. ยาว 3-6 มม. เมื่อผลแก่แล้วจะแตกออก

เมล็ด มีลักษณะยาว มี 1-3 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบในแถบเขตร้อนทั่วไป ขึ้นตามพื้นที่เปิด ทุ่งหญ้า ทุ่งนา เนินเขา หรือริมถนน แหล่งเพาะปลูก ในที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดจนถึงที่กึ่งร่มในป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ทั้งในระดับทะเลปานกลางถึงพื้นที่สูง 1,500 ม.เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย จนถึงมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มิถุนายน-กรกฎาคม
ระยะเวลาการติดผล
มิถุนายน-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น ทั้งต้นนำมาต้มน้ำดื่ม เป็นยากระตุ้นให้เกิดความสดชื่น บำรุงกำลัง แก้ไข้ ขับเสมหะ บเหงื่อ ขับปัสสาวะ ระบายท้อง เป็นสารทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น แก้ระดูผิดปกติ เป็นยาเย็น เป็นยาแก้ปวดหัว ปวดหู แก้โรคมาลาเรีย ไข้เหลือง ซิฟิลิส ดีซ่าน โรคตับ พยาธิในลำไส้ แก้ปวดประสาท แก้รอยฟกช้ำ แผลเปื่อยแผลสดตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคตาแดง แก้ตาบวม ตาอักเสบ อาการอาเจียน โรคกระเพาะ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ แก้โรคหนองใน แก้อาการบวม ฟกช้ำ รักษาโรคปวดข้อ และอาการปวดเมื่อยตามข้อ
ใบ นำมาต้มน้ำดื่ม รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้โรคบิด ขับพยาธิในเด็ก ยาทารักษาฝีหนอง แก้อาการเคล็ด และรักษาอาการปวดเมื่อย นำมาตำพอกหรือคั้นเอาน้ำทาห้ามเลือด แก้แผลสด สมานแผล แก้อาการเคล็ดบวม
ราก แก้โรคหนองใน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “พันงูเขียว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=1987&view=showone&Itemid=132 (9 ตุลาคม 2559)

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 205 น.

ThaiHerbal.org. 2015. “พันงูเขียว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/3125/3125 (9 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-195911 (8 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้