Application name
รายการพรรณไม้
รายงาน
การตั้งค่า
แก้ไขข้อมูลพรรณไม้
รหัส
ชื่อวิทยาศาสตร์
<p><em>Erythrina</em> <em>variegata</em> L.</p>
สกุล
สปีชีส์
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม
<p><em>Erythrina</em> <em>alba</em> Cogniaux & Marchal</p><p><em>Erythrina</em> <em>indica</em> var. <em>alba</em> W. S. Millard & E. Blatter</p><p><em>Erythrina</em> <em>marmorata</em> Veitch ex Planchon</p><p><em>Gelala</em> <em>alba</em> Rumphius</p>
ชื่อไทย
ชื่อท้องถิ่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวงศ์
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ไม้ล้มลุก
ไม้พุ่ม
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ไม้เลื้อย
ไม้รอเลื้อย
ไม้อิงอาศัย
ไม้หัว
พืชอวบน้ำ
ปาล์ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
<p><strong>ลำต้น</strong> ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 25 ม. เรือนยอดทรงกลมทึบ ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากบริเวณเรือนยอด เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีลักษณะเป็นร่องแตกตามแนวยาว ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นสีดำอยู่ประปราย เนื้อไม้เปราะ</p><p><strong>ใบ</strong> ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย ออกเรียงสลับ ก้านช่อใบยาว 2-28 ซม. ก้านใบสั้น ใบเป็นรูปสามเหลี่ยมมน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่ล่าง ใบอ่อนมีขนประปราย ใบแก่ผิวเกลี้ยงหลังใบสีเขียวมีลายสีเหลืองตามแนวเส้นใบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 7-8 เส้น</p><p><strong>ดอก </strong>ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่บริเวณปลายกิ่ง มีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านช่อดอกยาว 5-25 ซม. ดอกสีแดงสด กลีบดอกเรียงตัวแบบดอกถั่ว กลีบดอกยาว 2-4 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 7-8 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีเกสรเพศผู้สีแดงอ่อน ยาว 5-7 ซม. เชื่อมติดกันที่โคน</p><p><strong>ผล </strong>เป็นฝักแบน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 10-45 ซม. ออกเป็นพวงๆ โคนฝักเล็กลีบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายฝักจะบวม เห็นเป็นสันของเมล็ดได้ชัด เมื่อฝักแก่เต็มที่จะเป็นสีน้ำตาลเข้มปลายฝักจะแตก และอ้าออก</p><p><strong>เมล็ด</strong> รูปไข่หรือคล้ายไต มีเมล็ดประมาณ 1-8 เมล็ด ขนาดกว้าง 5-12 มม. ยาว 6-20 มม. ผิวเรียบเป็นมัน เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมแดง</p>
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
ร่มรำไร
ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา
<p>พบได้ในป่าพื้นล่างใกล้ชายทะเล ไปจนกระทั่งถึงป่าดิบเขาสูง 1,200 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง</p>
ถิ่นกำเนิด
<p>ประเทศแทนซาเนีย จีน ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย</p>
การกระจายพันธุ์
<p>พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วไป ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จรดหมู่เกาะแปซิฟิกถึงออสเตรเลีย และตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก</p>
การปลูกและการขยายพันธุ์
<p>ปลูกได้ในสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง โตเร็ว ทนลมและทนแล้ง เหมาะจะปลูกริมทะเลหรือที่แห้งแล้ว ถ้าอยู่ในที่แล้งจะทิ้งใบหมดต้น กิ่งค่อนข้างเปราะ</p><p>การขยายพันธุ์ทำได้ทั้ง เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง วัสดุชำต้องชื้นแฉะ</p>
ระยะเวลาการติดดอก
ระยะเวลาการติดผล
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร
สมุนไพร
พืชประดับ
พืชวัสดุ
พืชใช้เนื้อไม้
พืชให้ร่มเงา
พืชเศรษฐกิจ
<p><strong>เปลือกต้น</strong> นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยขับลมชื้น ทะลวงเส้นลมปราณ แก้ไข้ แก้ปวดฟัน แก้บิด ขับพยาธิ แก้โรคตับ แก้กลากเกลื้อนผดผื่นคัน โรคผิวหนัง ช่วยแก้อาการฟกช้ำ แก้ปวดข้อ ลดไข้</p><p><strong>ใบ</strong> นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ลมพิษ แก้ตาแดง ตาแฉะ และฝ้าฟาง ดับพิษร้อน ใช้เป็นยาช่วยให้นอนหลับเจริญอาหาร แก้ไข้ ขับเสมหะ ช่วยแก้อาเจียน แก้ปวดฟัน แก้โรคบิด ปวดท้อง ขับพยาธิ ขับระดูของสตรี รักษาผิวหนังเป็นน้ำเหลือง</p><p><strong>ราก</strong> เป็นยาเย็นมีรสเอียน แก้พยาธิในท้อง แก้ตาฟาง แก้เสมหะ แก้ไข้หวัด พอกบาดแผลปวดแสบปวดร้อน และแก้ลม เปลือกราก นำมาต้มน้ำดื่ม เป็นยากระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไขสันหลัง ช่วยทำให้ความดันโลหิตในเส้นเลือดแดงเพิ่มขึ้น รักษาอาการไอเกร็ง เป็นยาแก้ขั้วปอดอักเสบ</p><p><strong>ดอก</strong> ใช้เป็นยาขับระดู</p><p><strong>เมล็ด</strong> นำมาต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็ง ขับระดูของสตรี ตำเมล็ดพอกแก้พิษงู รักษาฝี</p>
หมายเหตุ
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิง
<p>มูลนิธิโครงการหลวง 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 808 น.</p><p>วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.</p><p>วีณา เชิดบุญชาติ. 2543. ปลูกผักไทยได้ทั้งอาหารและยา. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.</p><p>เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.</p><p>ThaiHerbal.org. 2014. “ทองบ้าน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/2285 (19 ตุลาคม 2559)</p><p>The Plant List. 2013. “<em>Erythrina</em> <em>variegata</em> L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-2735 (7 สิงหาคม 2560)</p>
แหล่งอ้างอิงการจำแนก
<p>-</p>
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
<p>-</p>
สถานะของข้อมูล
แบบร่าง
กลับหน้ารายการพรรณไม้