รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06373


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum loureiroi Nees

สกุล
Cinnamomum
สปีชีส์
Cinnamomum loureiroi
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
อบเชยญวน
ชื่อท้องถิ่น
พรมเส็ง (เงี้ยว), การบูร อบเชยดำ อบเชย
ชื่อสามัญ
Saigon Camphor, Camphor Tree
ชื่อวงศ์
LAURACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น สูง 4-5 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นเรียบหนาสีน้ำตาล ต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ด

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบและแผ่นใบเรียบ สีเขียว เส้นใบแตกออกจากโคนใบ 3 เส้น ใบอ่อนสีแดง

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกสีเหลืองอ่อนขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม กลีบดอกรวมเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 6 แฉก เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์เพศมี 9 อัน เรียงเป็น 3 วง

ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีม่วงดำ

เมล็ด เป็นเมล็ดเดี่ยว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

-

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา

ต้น เปลือกต้น ปรุงเป็นยาหอม แก้อ่อนเพลีย แก้จุกเสียด ทำให้มีกำลัง ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้บิด บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “อบเชยญวน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.saiyathai.com/herb/973000.htm (29 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Cinnamomum loureiroi Nees.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2721407 (11 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้