รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06409


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gynura pseudochina (L.) DC. Var. hispida Thwaites

สกุล
Gynura
สปีชีส์
Gynura pseudochina
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ว่านมหากาฬ
ชื่อท้องถิ่น
ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุรินทร์), คำโคก (ข่อนแก่น, เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน มีหัวอยู่ใต้ดิน เนื้อในสีขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว

ใบ เป็นใบเดี่ยว แผ่ออกอยู่บนดิน ออกเรียงสลับ รูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5-8.0 ซม. ยาว 6-30 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบมน ขอบใบหยักห่าง ๆ เนื้อใบหนาและแข็ง ใบอ่อนสีม่วงแก่ ก้านใบสั้น พอแก่จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกมีสีเหลือง  เป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง แต่มีขนาดเล็ก

ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามพื้นที่เปิดโล่ง ข้างทาง

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ภูฏาน จีน เนปาล ศรีลังกา อินโดนีเซีย แอฟริกาเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ใบสด  โขลกผสมกับสุรา ใช้ฟอกฝี หรือหัวลำมะลอก ทำให้เย็น ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน

หัว มีรสเย็น กินดับพิษร้อน พิษกาฬ พิษอักเสบ แก้ไข พิษเซื่องซึม ระส่ำระสาย 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

ThaiHerbal.org. 2014. “ว่านมหากาฬ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/2067 (31 ตุลาคม 2559)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ว่านมหากาฬ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=2921&view=showone&Itemid=132 (31 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้