รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00655


ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia malabarica Roxb.

สกุล

Bauhinia Plum. ex L.

สปีชีส์

malabarica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bauhinia acida Korth.

Bauhinia castrata Hassk.

ชื่อไทย
เสี้ยวใหญ่
ชื่อท้องถิ่น
คังโค (สุพรรณบุรี)/ แดงโค (สระบุรี)/ ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ)/ เสี้ยวส้ม (นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 ม. เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น

ใบ ใบทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ

ผล เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล

เมล็ด แบน ผิวเรียบมัน มี 8-12 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบมากในป่าเต็งรัง

ถิ่นกำเนิด

รัฐวอชิงตัน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี  

Cape York Peninsula คาบสมุทรในประเทศออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

อนุทวีปอินเดียเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

เสี้ยวมีฤทธิ์ทางใช้ ฟอกโลหิต แก้ไอ แก้ไข้ ขับโลหิตระดู ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีp

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ส้มเสี้ยว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2447 (29 มกราคม 2560)

Australian Tropical Rainforest Plants. “Bauhinia malabarica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://keys.trin.org.au/key-server/data/0e0f0504-0103-430d-8004-060d07080d04/media/Html/taxon/Bauhinia_malabarica.htm (29 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Bauhinia malabarica Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46028 (29 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้