รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00659


ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia siamensis K.Larsen & S.S.Larsen

สกุล

Bauhinia Plum. ex L.

สปีชีส์

siamensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
สร้อยสยาม
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้เถาเนื้อแข็ง มีมือจับ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง

ใบ หูใบรูปทรงกลมถึงรูปไข่กลับ ยาว 0.6-1.0 ซม. ใบรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 4.0-7.5 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก แฉกลึก 1/3 ถึง 2/5 ก้านใบ ยาว 1-3 ซม.

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ห้อยลง ยาวถึง 75 ซม. แกนกลางมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดงเมื่ออ่อน กลีบเลี้ยงรูปปากเปิด กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กลับถึงรูปรี สีชมพูอมขาวถึงสีชมพู กว้าง 0.8-1.0 ซม. ยาว 1.5-2.0 ซม. ปลายกลม โคนสอบเรียว เกสรเพศผู้มี 3 อัน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันมี 6 อัน รังไข่มีก้านยาวประมาณ 0.4 ซม.

ผล แบบฝัก รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 16-18 ซม. มีจะงอยยาวประมาณ 0.5 ซม. ก้านผลยาวประมาณ 0.6 ซม. เมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาลเข้มยาว 1.5-2.0 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะที่ภูเมี่ยง จ. พิษณุโลก ขึ้นในป่าเบญจพรรณที่มีไผ่หนาแน่น ระดับความสูงประมาณ 300 ม.

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “สร้อยสยาม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2312 (25 กรกฎาคม 2560)

Office of the Forest Herbarium Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 2016. “สร้อยสยาม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/plantdetail.aspx?monthno=200512&smonthname=December&slanguage=thai (25 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Bauhinia pottsii var. mollissima (Prain) K.Larsen & S.S.Larsen. ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46059 (25 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้