รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00664


ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia winitii Craib

สกุล

Bauhinia Plum. ex L.

สปีชีส์

winitii

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Lysiphyllum winitii (Craib) de Wit

ชื่อไทย
อรพิม
ชื่อท้องถิ่น
คิ้วนาง (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น มือพันเป็นเส้นยาว

ใบ ประกอบขนาดเล็ก รูปกลม โคนและปลายเว้า คล้ายใบแฝด เส้นใบสีขาว ใบอ่อนสีชมพู เมื่อแก่สีเขียว

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลอมเขียว มีขนคล้ายกำมะหยี่ กลีบดอกสีขาวรูปช้อน 5 กลีบ กลีบกลางแต้มสีเหลือง แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาว 10 อัน ขนาดดอก 10-15 ซม.

ผล เป็นฝักเบียวเล็กน้อย รูปใบหอก สีน้ำตาล ยาว 5-10 ซม. มี 6-10 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลุกประดับสวน ปลูกเลื้อยตามซุ้ม

หมายเหตุ

อรพิม ชื่อชนิดของพืชนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) ผู้พบและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ชนิดนี้มาเผยแพร่เป็นคนแรก

แหล่งอ้างอิง

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “อรพิม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/bauhinia-winitii/ (27 กรกฎาคม 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “อรพิม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&id=546 (27 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Bauhinia winitii Craib.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-46098 (27 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้