รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00820


ชื่อวิทยาศาสตร์

Borassus flabellifer L.

สกุล

Borassus L.

สปีชีส์

flabellifer

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Borassus flabelliformis L.

Borassus flabelliformis Roxb.

Borassus sundaicus Becc.

Borassus tunicatus Lour.

Pholidocarpus tunicatus (Lour.) H.Wendl.

Thrinax tunicata (Lour.) Rollisson

ชื่อไทย
ตาล
ชื่อท้องถิ่น
ถาล (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน)/ ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ ท้าง (กะเหรี่ยง-ตาก)/ ท้าง (เชียงใหม่)/ ตาลโตนด ตาลใหญ่ (ภาคกลาง)/ โหนด (ใต้)
ชื่อสามัญ
Palmyra palm/ Toddy palm/ Wine palm, Tala palm, Lontar palm, Fan palm
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น อายุหลายปี ลำต้นตั้งตรงสูงได้ถึง 40 ม. ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีรากแห้งปกคลุมโคนต้น ลำต้นมีสันเป็นรอยของใบที่เคยติดอยู่และร่วงหล่นไป

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปพัด ค่อนข้างกลม กว้าง 1.0-1.5 ม. ก้านใบเป็นร่องลึกตามยาว ยาว 1-2 ม. เนื้อใบหยาบแข็ง เส้นใบออกจากจุดเดียว ขอบใบมีหนามแข็ง

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกเป็นช่อที่ซอกใบคล้ายงวง ช่อดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ช่อห้อยลง ยาวได้ถึง 2 ม. แตกแขนงเป็นแกนย่อยได้ถึง 8 แขนง แต่ละแขนงมีแกนดอกย่อย 3 แกน แต่ละแกนยาวได้ถึง 45 ซม. และมีดอกย่อย 30 ดอก แต่ละดอกมีเกสร 6 อัน ช่อดอกเพศเมีย ยาวได้ถึง 1.2 ม. ไม่แตกแขนงยกเว้นบางกรณีมีแขนงเล็ก ๆ มีใบประดับเป็นกาบหุ้มที่โคนช่อ ดอกย่อยใหญ่กว่าดอกเพศผู้

ผล ออกเป็นทะลาย ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 ซม. เมื่อสุกเปลือกเป็นสีม่วงแก่จนถึงดำ เนื้อในหนา เป็นเส้นใยสีเหลือง ฉ่ำน้ำ และมีกลิ่นหอม

เมล็ด ค่อนข้างกลมแบน มีร่องแบ่งเป็น 2 พู

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

กระจายทั่วประเทศไทย ขึ้นในที่โล่งแจ้ง นาในพื้นล่าง ไปถึงที่สูงในระดับ 800 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จรดนิวกินีและออสเตรเลียตอนเหนือ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้ผลแก่หรือเมล็ด การปลูกจะใช้ผลแก่และเมล็ดปลูก ระยะเวลาในการงอกประมาณ 45-60 วัน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้

ลำต้น โคนลำต้นใช้ทำเครื่องแกะสลักเป็นภาชนะใช้สอย หรือเครื่องประดับบ้าน ลำต้นนำมาทำสะพาน ไม้ฟืน คอลำต้นใช้เลี้ยงหนอนมะพร้าวเพื่อใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์เลี้ยง

ราก ที่อยู่ใต้ดินนำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาชูกำลัง แก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำ ไข้ประดง พิษตานซาง ขับโลหิต ปัสสาวะ และพยาธิ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่น แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ซางเด็ก

ใบ ใช้แทนใบลานลงอักขระสำหรับพระเทศ ใช้สานกระบุง ตะกร้า ภาชนะต่าง ๆ ทำหมวก ทำพัด ก้านใบใช้จักสานเป็นเสื่อ หรือทำเป็นเส้นใยเพื่อถักทอ ใช้ทำน้ำหยอดหู แก้หูน้ำหนวก นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นแก้นอนไม่หลับหลังคลอด ใช้สูบหรือเป่าลดความดันโลหิต ก้านใบสดและแผ่นใบ นำมาลนไฟบิดหรือตำเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย ดื่มแก้ท้องเสีย บิด อุจจาระเป็นเลือด ขับเลือดเสีย

ดอก จั่นหรือช่อดอกนำมาทำเป็นน้ำตาลสด น้ำตาล เหล้าหมัก และน้ำส้ม ช่อดอกอ่อนนำมาปรุงเป็นอาหารได้ ช่อดอกหรืองวงตาลนำมาคั้นน้ำดื่มทำให้สดชื่น บำรุงเนื้อแก้ปากเปื่อย ท้องเดิน ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง ตานขโมยเด็ก พิษเลือด ขับปัสสาวะ น้ำตาลสดจากงวงตาลใช้ดื่มชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเหนียว พิษตานซาง จาวแก้นิ่วในไตและในถุงน้ำดี

ผล เนื้อในรับประทานได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 808 น.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “ตาล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2069 (19 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Borassus flabellifer L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-23006 (1 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้