รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00869


ชื่อวิทยาศาสตร์

Brassica oleracea L. var. alboglabra

สกุล

Brassica L.

สปีชีส์

oleracea

Variety

alboglabra

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
คะน้า
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Borecole/ Collard/ Chinese kale
ชื่อวงศ์
BRASSICACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น คะน้าเป็นพืชที่มีอายุแค่ปีเดียว ไม่มีเนื้อไม้ สามารถสูงได้ถึง 40 เซนติเมตร และสูง 1-2 เมตร เมื่อช่อดอกเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นหลักหนึ่งต้น มีกิ่งแขนงผอมๆ เจริญออกมาทางด้านข้าง หรือส่วนบนของลำต้น

ใบ การเรียงใบแบบสลับ แผ่นใบหนาแข็งมีก้านใบ ใบกว้างรูปไข่จนถึงเกือบกลม ขอบใบแบบหยักซี่ฟันและมีลักษณะเป็นคลื่นที่โคนใบมีติ่งยื่นออกมาทั้งสองด้าน ใบที่อยู่ทางด้านล่างมีขนาดเล็ก

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาว 1-2 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว อาจพบดอกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ดอกมี 4 ส่วนครบ มีเกสรเพศผู้ 6 อัน สั้น 2 อัน ยาว 4 อัน

ผล ผลแตกแบบผักกาดค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดมีรอยบุ๋มขนาดเล็ก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ที่มีคสมอุดมสมบูรณ์สูง  มีความเป็นกรดด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอ

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย

การกระจายพันธุ์

ปลูกกันมากในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียและประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชเศรษฐกิจ

เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานทั่วไปโดยบริโภคส่วนของใบและลำต้น

ช่วยบำรุงผิวพรรณบำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2010. “ผักคะน้า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12233 (29 พฤษภาคม 2560)

ฐานข้อมูลพืชผัก บทความเกษตร. “คะน้า (Chinese Kale).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.vegetweb.com/คะน้า-2/ (29 พฤษภาคม 2560)

thaiherbal. 2014. “คะน้า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1317/1317 (29 พฤษภาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้