รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00897


ชื่อวิทยาศาสตร์

Bruguiera sexangula (Lour.) Poir. 

สกุล

Bruguiera Lam.

สปีชีส์

sexangula

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bruguiera australis A.Cunn. ex Arn.

Bruguiera eriopetala Wight & Arn.

Bruguiera oxyphylla Miq.

Bruguiera parietosa Griff.

Bruguiera sexangula var. sexangula

Rhizophora sexangula Lour.

ชื่อไทย
พังกาหัวสุมดอกขาว
ชื่อท้องถิ่น
ขลัก (ชุมพร)/ ประสักแดง (จันทบุรี ตราด)/ บากาห์ (มาเลย์ นราธิวาส)/ พังกาหัวสุม (กระบี่ ตรัง)
ชื่อสามัญ
Black Mangrove/ Upriver Orange Mangrove/ Busing/ Tumu Berau/ Tumu Mata Buaya
ชื่อวงศ์
RHIZOPHORACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โคนต้นมีพูพอนแผ่เป็นครีบสูงถึง 1 ม. เปลือกมีสีเทาคล้ำถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบ ขรุขระแล้วแตกล่อนเป็นสะเก็ดหรือเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่พบเฉพาะที่พูพอน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้างสลับตั้งฉาก ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง บรูปรีถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมถึงเรียว แหลมสั้น ๆ เส้นกลางใบยุบตัว ไม่มีคราบสีขาวขนาบ ผิวใบเกลี่ยงทั้งสองด้าน เนื้อใบอวบน้ำแกมเหนียวคล้ายแผ่นหนัง หูใบเรียวแหลม สีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง หลุดร่วงง่าย

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกมักโค้งลง ดอกตูมรูปทรงกระสวย เมื่อบายมีลักษณะคล้ายสุ่ม กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน เขียวอมเหลืองหรือเขียวอมชมพู พบน้อยที่เป็นสีแดงเรื่อ โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอดรูประฆัง ปลายแยกเป็นแฉกแคบ ๆ 10-12 แฉก กลีบดอกแยกป็น 10-12 กลีบ รูปขอบขนาน สีนวลถึงสีส้มอมแดง ปลายกลีบเว้าลึกลงมาเกือบถึงกลางกลีบ

ผล แบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปทรงไข่คล้ายลูกข่าง

เมล็ด เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ฝักอ่อนสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมเขียวเมื่อแก่  

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นในที่ดินแข็งน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว ริมลำคลอง และที่ดอนที่น้ำทะเลท่วมถึง

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ 

การกระจายพันธุ์

ศรีลังกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึงนัวกินีตะวันออก และนิวบริทเทน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เกือบตลอดทั้งปี
ระยะเวลาการติดผล
เกือบตลอดทั้งปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

-อาหาร, เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

-สามารถปลูกประดับเพื่อความสวยงามได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ประสักแดง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=888&view=showone&Itemid=59 (26 มกราคม 2560)

National Parks Board. 2013. “Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/special-pages/plant-detail.aspx?id=3641 (7 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Bruguiera sexangula (Lour.) Poir.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2684052 (26 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้