รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00989


ชื่อวิทยาศาสตร์

Caesalpinia sappan L.

สกุล

Caesalpinia Plum. ex L.

สปีชีส์

sappan

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Biancaea sappan (L.) Tod.

ชื่อไทย
ฝาง
ชื่อท้องถิ่น
ฝางส้ม (กาญจนบุรี)/ ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ หนามโค้ง (แพร่)/ ฝางเสน (กรุงเทพฯ)/ ลำฝาง (ลั้วะ)/ สะมั่วะ (เมี่ยน)/ โซปั้ก (จีน)/ ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ
Sappan/ Sappan Tree
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-8 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ต้นแก่แตกเป็นสะเก็ดยาว ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและสั้น

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น รูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ขอบใบและแผ่นใบเรียบ สีเขียว เนื้อใบบางและนิ่ม

ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกบางมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ผิวและขอบกลีบย่น มีเกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศผู้เป็นเส้นขนาดเล็ก มีขนละเอียดสีขาว

ผล เป็นฝักแบนแข็ง ปลายฝักรูปหอก ส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อยด้านปลายฝักจะผายกว้าง ปลายฝักจะตัดเป็นลักษณะคล้ายจะงอยแหลม อยู่ทางมุมด้านนอก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งเป็นสีน้ำตาล

เมล็ด ลักษณะแบน สีน้ำตาล มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ซึ่งมักจะพบได้ตามป่าละเมาะ ป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก อินเดีย พม่า ไทย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น แก่น มีรสขมฝาด นำมาต้นน้ำดื่ม รักษาโรคมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด แก้โรคผิวหนังบางชนิด ฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง เปลือกลำต้น รักษาวัณโรค แก่นและเนื้อไม้ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้าและไหม ใช้เป็นสีใส่อาหารและเครื่องดื่ม เนื้อไม้แข็ง ตกแต่งชักเงาได้ดี ในแก่นฝางมีสาร Sappanin มีฤทธิ์ในการระงับเชื้อโรคได้ สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และยีสต์ ช่วยยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการแพ้ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยับยั้งโรคมะเร็งได้อีกด้วย แต่มีข้อควรระวังในการใช้ คือฝางมีฤทธิ์เป็นยาขับประจำเดือนและยับยั้งการแข็งตัวของเลือด จึงไม่ควรนำไปใช้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์

ราก ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้าและไหม ใช้เป็นสีใส่อาหารและเครื่องดื่ม

เมล็ด เมล็ดแก่แห้ง นำไปต้มน้ำดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจจะบดเป็นผงแล้วกิน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 112 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “ฝาง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=220&name=-%20Sappan%20tree%20-%20Sappan%20tree%2C%20Indain%20red%2C%20Brazilwood%20%5B3%5D (29 ตุลาคม 2559)

ThaiHerbal.org. 2014. “ฝาง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1015 (29 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Caesalpinia sappan L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-956 (29 ตุลาคม 2559)

Useful Tropical Plants. 2014. “Caesalpinia sappan.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Caesalpinia+sappan (29 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้