รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00992


ชื่อวิทยาศาสตร์

Calamus siamensis Becc.

สกุล

Calamus L.

สปีชีส์

siamensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Calamus siamensis var. malaianus Furtado    

ชื่อไทย
หวายขม
ชื่อท้องถิ่น
หวายเขียว(นครราชสีมา)/แกรบารดู(มลายู นราธิวาส)/ หวายบุ่น (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น หวายขมเป็นไม้เถา ลำต้นเลื้อยหรือแตกกอ มักเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีกาบหุ้มลำต้นสีเขียวเข้ม เคลือบด้วยไขสีขาวบางและมีหนามยาวรอบเถา

ใบ ใบประกอบ มีใบย่อยเรียงสลับในแนวระนาบ ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ ปลายใบแหลม

ดอก ดอกออกเป็นช่อ มีสีเหลือง

ผล ผลค่อนค้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วมีสีเหลือง ผิวผลมีเกล็ดบาง ๆ เรียงซ้อนกัน เมล็ดแข็ง ผิวขรุขระ หนึ่งผลมี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าดิบแล้ง และป่าคืนสภาพ นอกจากนี้หวายขมยังเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ไทย ลาว คาบสมุทรมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-มิถุนายน
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ลำต้น(หน่อหวาย) ยอดอ่อนนำมาแกงเปรอะเหมือนกับแกงหน่อไม้ เนื้อหุ้มเมล็ดสามารถรับประทานได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2553. “หวายขม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.tistr.or.th/tistr/ (5 เมษายน 2560)

PALM PEDIA. 2016. “Calamus siamensis.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.palmpedia.net/wiki/Calamus_siamensis (5 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Calamus siamensis Becc.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-29930 (5 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Calamus siamensis Becc.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:665424-1 (5 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้