รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01058


ชื่อวิทยาศาสตร์

Camellia sinensis var. assamica (J.W.Mast.) Kitam.

สกุล

Camellia L.

สปีชีส์

sinensis

Variety

assamica

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Camellia assamica (Mast.) H.T.Chang

Camellia assamica var. kucha Hung T. Chang & H.S.Wang

Camellia dishiensis F.C.Zhang, X.Y.Chen & G.B.Chen

Camellia multisepala Hung T. Chang & Y.J. Tang

ชื่อไทย
เมี่ยง
ชื่อท้องถิ่น
ชา(กลาง,เชียงใหม่) / เมี่ยงดอย(เชียงใหม่,เหนือ)
ชื่อสามัญ
Tea plant
ชื่อวงศ์
THEACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น เมี่ยงเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 6-17 ม. กิ่งก้านแตกออกด้านข้า ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เปลือกในสีชมพูแดง

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนา ด้านบนใบมัน ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม

ดอก  ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและออกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กว้าง แยกอิสระ กลีบดอก 7-8 กลีบ แยกอิสระ รูปไข่กว้าง ปลายกลม สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม.

ผล ผลแห้งแตก รูปกลมแป้น ผิวเรียบ มี 3 พู เปลือกหุ้มผลหนา ผิวเกลี้ยง ภายในมี 1-3 เมล็ด แต่ละเมล็ด ทรงกลม สีดำ ผิวเกลี้ยง เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบ ทางภาคเหนือ ที่ความสูง 500-1,500 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

มีอินทรียวัตถุในดินสูง ระบายน้ำได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย

ถิ่นกำเนิด

อัสสัม หรืออินเดีย

การกระจายพันธุ์

 

พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และภาคใต้ของจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

ใบ นำมาประกอบอาหาร เช่นยำ หรือตากแห้ง นำมาชงดื่มเป็นน้ำชา(คนเมือง) นึ่งแล้วใช้ห่อเกลือ เคี้ยวกินเล่น(ลั้วะ) ยอดอ่อนและใบ ตากแห้ง แล้วนำมาชงน้ำดื่ม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขยี้ใบแล้วบีบน้ำใส่แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) 

ใบอ่อน หมักเมี่ยงขาย(คนเมือง) ยอดอ่อน เก็บผลผลิตเพื่อขาย(คนเมือง) 

ใบแห้ง ชงใส่น้ำตาล รักษาปวดท้อง (อาข่า)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “เมี่ยง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=192 (22 กรกฎาคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Tea plant.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=250&name=Tea%20plant%20&txtSearch=&sltSearch= (22 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Camellia sinensis var. assamica (J.W.Mast.) Kitam.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2694881 (22 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Camellia sinensis (L.) Kuntze.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:828548-1 (22 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้