รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01060


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson

สกุล

Cananga (DC.) Hook.f. & Thomson

สปีชีส์

odorata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cananga mitrastigma (F.Muell.) Domin

Cananga odorata var. odorata

Cananga odoratum (Lam.) Baill. ex King

Cananga scortechinii King

Canangium mitrastigma (F.Muell.) Domin

ชื่อไทย
กระดังงาไทย
ชื่อท้องถิ่น
กระดังงา (ตรัง-ยะลา)/ กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง)/ สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Ylang-Ylang Tree
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูง 15-30 ม. เปลือกสีเหลือบขาว มีรอยแผลของก้านใบตามลำต้น แตกกิ่งจำนวนมากตั้งฉากกับลำต้น ปลายห้อยลู่ลงกิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ

ใบ ใบเดี่ยวรูปขอบขนานกว้าง โคนใบมน ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่ง กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. เส้นกลางใบเห็นชัดเจน หลังใบมีขนที่ส้นใบ ก้านใบยาว 1.0-1.5 ซม.

ดอก ช่อดอกออกเหนือรอยแผลของก้านใบ มี 3-6 ดอก กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 5-7 มม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกสีเขียวแกมเหลืองมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น รูปขอบขนานเรียวและบิดเล็กน้อย ยาว 5.0-7.5 ซม.

ผล ผลกลุ่ม รูปกลมรี กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 1.5-2.3 ซม. มี 5-12 ผล ก้านช่อผลยาว 2.0-2.5 ซม. ก้านผลยาว 1.2–1.8 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเข้มเกือบดำ

เมล็ด 2-12 เมล็ด เรียงกันเป็นสองแถว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ที่ความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 800 ม.

ถิ่นกำเนิด

 

มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน ควีนส์แลนด์

การกระจายพันธุ์

พบในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ไปจนถึงตอนเหนือของรัฐควีนสแลนด์

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-กรกฎาคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

ลำต้น เนื้อไม้ใช้ทำก้านไม้ขีด ต้นและกิ่งก้าน รับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ เปลือกต้น มีรสเฝื่อน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะผิดปกติ

ดอก มีกลิ่นหอม ใช้ทำน้ำหอม และเครื่องหอม ใช้ปรุงยาหอมประกอบกับเครื่องยาอื่น ๆ แก้ลม อ่อนเพลีย ลมเป็นพิษ แก้ไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ รักษาโรคหืด

ใบ ใช้รักษาโรคหืด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “กระดังงาไทย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=167 (14 กันยายน 2560)

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์, กรุงเทพมหานคร. 205 น.

The Plant List. 2013. “Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2695745 (14 กันยายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:72580-1 (14 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้