รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01075


ชื่อวิทยาศาสตร์

Capsicum annuum L.

สกุล

Capsicum L.

สปีชีส์

annuum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Capsicum abyssinicum A.Rich.

Capsicum angulosum Mill.

Capsicum annuum var. abbreviata Fingerh.

Capsicum annuum var. abbreviatum Fingerh.

Capsicum annuum var. acuminatum Fingerh.

Capsicum annuum var. annuum

ชื่อไทย
พริกหวาน
ชื่อท้องถิ่น
พริกหยวก(กลาง)
ชื่อสามัญ
Sweet Pepper/ Bell Pepper
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน มีลักษณะทรงเรียวรี ปลายใบแหลม ใบเรียบมัน ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว มีขนปกคลุมทั่วใบ 

ดอก ออกดอกเดี่ยว ดอกมีลักษณะรูปกรวย กลีบดอกมีสีขาว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ก้านช่อดอกจะยาว ดอกออกตามซอกใบ และออกตรงปลายยอดกิ่ง

ผล เป็นผลเดี่ยว มีลักษณะคล้ายรูประฆัง ทรงสี่เหลี่ยมหรือหกเหลี่ยม มีขนาดใหญ่ ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลมีสีแดง สีเขียว สีส้ม สีเหลือง หรือสีม่วง ตามสายพันธุ์ ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อน เกาะแกนกลางอยู่มากมาย

เมล็ด มีขนาดเล็กๆจำนวนมาก เกาะแกนกลางอยู่ภายในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนเล็กๆ มีสีเหลืองอ่อน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการผสมเกสรอยู่ระหว่าง 20-25′C มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ใสสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า 18′C หรือสูงกว่า 32′C จะจำกัดการผสมเกสร อัตราการติดผลต่ำ พริกหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี และมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8

ถิ่นกำเนิด

กัวเตมาลา เม็กซิโก 

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด เสียบยอด 

ระยะเวลาการติดดอก
พฤษภาคม-สิงหาคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-พศจิกายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชเศรษฐกิจ

ผล ทำเป็นอาหารได้ มีรสชาติหวานกรอบ ใช้รับประทานสดๆ และประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู

มีอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยให้ไหลเวียนเลือดดี ช่วยป้องกันเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แก้หวัด แก้ไอ แก้ไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาการอุดตันเส้นเลือด ช่วยรักษาคอเลสเตอรอลสูง ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2010. “พริกหวาน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11297 (4 เมษายน 2560)

Flora of China. “Capsicum annuum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200020513 (4 เมษายน 2560)

thai-thaifood. 2016. “พริกหวาน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thai-thaifood.com/th/พริกหวาน/ (4 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Capsicum annuum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2698415 (4 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Capsicum annuum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:316944-2 (4 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้