รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01204


ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet

สกุล

Cinnamomum Schaeff.

สปีชีส์

bejolghota

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cinnamomum bazania (Buch.-Ham.) Nees

Cinnamomum obtusifolium (Roxb.) Nees

Cinnamomum sikkimense Lukman.

Cinnamomum van-houttei Lukman.

Laurus bejolghota Buch.-Ham.

Laurus obtusifolia Roxb.

ชื่อไทย
อบเชย
ชื่อท้องถิ่น
ขนุนมะแวง จวงดง(หนองคาย)/ เฉียด บริแวง (ระยอง)/ เชียกใหญ่ (ตรัง)/ ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช)
ชื่อสามัญ
Cinnamom
ชื่อวงศ์
LAURACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงประมาณ 15 - 20 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม

รูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือกเรียบ สีเทา แก่หรือเทาปนน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคน ใบ 3 เส้น

ดอก ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโต ตามปลายกิ่ง

ผล ผลมีขนาดเล็ก แข็ง รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นห่าง ๆ ในป่าดงดิบทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน-เขตอบอุ่น

การกระจายพันธุ์

จีน อินเดีย เนปาล พม่า ไทย ลาว เวียดนาม ภูฏาน บังกลาเทศ

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มิถุนายน-ตุลาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร

เนื้อไม้มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อหยาบแข็งค่อนข้างเหนียว ใช้ในการแกะสลักทำหีบใส่ของที่ป้องกัน แมลง  เครื่องเรือน   ไม้บุผนังที่สวยงาม   รากและใบ   ต้มให้หญิงที่คลอดใหม่ รับประทาน  และรักษาไข้ เปลือก   มีรส หวานหอม ใช้เข้ายานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ เข้ายาบำรุงกำลัง แก้จุกแน่น บำรุงดวงจิต ใช้ปรุงเครื่องแกง เป็น เครื่องเทศ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “อบเชย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/ranong.htm (7 มกราคม 2560)

ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. “อบเชย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2&keyback=%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2 (7 มกราคม 2560)

Encyclopedia of Life. “Cinnamomum bejolghota.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://eol.org/pages/2886408/overview (7 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2721146 (7 มกราคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Cinnamomum bejolghota.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:463310-1 (7 มกราคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2014. “Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Cinnamomum+bejolghota (7 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้