รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01362


ชื่อวิทยาศาสตร์

Plectranthus scutellarioides (L.) R.Br.

สกุล

Plectranthus L'Hér.

สปีชีส์

scutellarioides

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Calchas acuminatus (Benth.) P.V.Heath

Calchas atropurpureus (Benth.) P.V.Heath

Calchas crispipilus (Merr.) P.V.Heath

Calchas scutellarioides (L.) P.V.Heath

Calchas scutellarioides var. angustifolia (Benth.) P.V.Heath

ชื่อไทย
ฤาษีผสมแล้ว
ชื่อท้องถิ่น
ว่านเลือดแห้ง (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
Coleus/ Painted Nettle
ชื่อวงศ์
LAMIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุกอายุ 2-3 ปี สูงได้ถึง 150 ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือขึ้นข้างบน มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาวสี่สัน ปกคลุมด้วยขนละเอียดค่อนข้างหนาแน่น รากไม่มีหัว

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่และเวียนสลับรอบลำต้นหรือกิ่ง ก้านใบยาว 1-8 ซม. ปกคลุมด้วยขนละเอียด แผ่นใบมีขนาด รูปร่าง และสีต่างๆกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่กว้างหรือเกือบกลม กว้าง 3-5 ซม. แต่อาจจะพบกว้างเพียง 1 ซม. หรือกว้างถึง 10 ซม. ยาว 4-7 ซม. แต่อาจจะสั้นเพียง 1 ซม. หรือยาวถึง 15 ซม. ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลมถึงเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งเป็นรูปตัดหรือสอบแคบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อยตื้นหรือลึก หรือหยักคล้ายลูกคลื่น ยกเว้นบริเวณโคนใบค่อนข้างเรียบ เนื้อใบบาง ผิวใบปกคลุมด้วยขนละเอียด เส้นใบข้าง 4-8 คู่

ดอก ดอกออกจากซอกใบ ปลายกิ่ง หรือยอดลำต้น เป็นช่อกระจุกรอบ หรือช่อฉัตร หรือช่อกระจุกแยกแขนง ช่อดอกยาว 5-10 ซม. ใบประดับรูปไข่ ยาว 2-3 มม. ปลายแหลม มีขนละเอียดปกคลุม หลุดร่วงง่าย ดอกย่อยสมบูรณ์เพศมีขนาดเล็ก เรียงตัวรอบแกนช่อดอกเป็นกระจุกหรือเป็นชั้น แต่ละชั้นระยะค่อนข้างห่างกัน และมักจะถี่ขึ้นบริเวณปลายช่อ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 4 พู ขนาดไม่เท่ากัน ยาว 1.2-1.5 มม. พูบนใหญ่รูปไข่กว้าง ปลายแหลมมน พูข้าง 2 ข้างขนาดเล็ก ปลายโค้งแบบรูปครึ่งวงกลม พูล่างสุดแคบแต่ยาวไล่เลี่ยกับพูบน ปลายแยกเป็น 2 ง่าม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุมและมีต่อมเป็นจุดประปราย กลีบดอกสีน้ำเงินหรือม่วงด้านนอก  ด้านในสีขาว เชื่อมติดกันรูปร่างคล้ายกระบวย ปลายแยกเฉกมน 4 แฉก ขนาดความยาว 8-13 มม. แต่ดอกใหญ่มากอาจยาวได้ถึง 18 มม. มีขนละเอียดปกคลุม เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่ในหลอดกลีบดอกและโผล่ไม่พ้นกลีบดอก ก้านเกสรเพศเมีย 1 อัน ยาวไล่เลี่ยกับเกสรเพศผู้ และไม่โผล่พ้นกลีบดอก

ผล เป็นประเภทเปลือกแข็ง เมล็ดเดียว

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าบริเวณที่รกร้างว่างเปล่า ในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ถึงบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ตั้งแต่ระดับพื้นล่างถึงพื้นที่สูง 1,800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เอชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น แอฟริกา ออสเตรเลีย 

การกระจายพันธุ์

อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ประเทศในภูมิภาคอินโดจีนถึงประเทศในแถบคาบสมุทรมาเลย์ หมู่เกาะโซโลมอน โพลีเซีย และตอนเหนือของออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำ 

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ราก ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้อาการปวดเฉียบพลันในท้อง ท้องเดิน

ใบ ต้มดื่มแก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ใช้ขับพยาธิตัวแบนในท้อง และแก้ภาวะปัสสาวะลำบาก น้ำคั้นจากใบหยอดตาแก้ตาเจ็บ ใช้ใบถูตามบริเวณที่มีอาการบวมตามร่างกาย น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบทำเป็นยาทำแท้ง ขับระดู แก้ริดสีดวงทวาร ตาเจ็บ สมานแผล หรือแก้อาการเป็นตุ่มเป็นหนองตามร่างกาย ใบสดทำเป็นยาเปียกทาแก้รอยฟกช้ำและแก่อาการปวดหัว ใบอ่อนย่างไฟ บิดเอาน้ำใส่แผลสดและแผลเน่าเปื่อย เป็นยาสมานแผล

ใบ ต้น ตำพอกแก้ปวดบวม พอกท้องในเวลาปวดท้อง พอกตาแก้ตาอักเสบ พอกแผลโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ต้มดื่มเป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้ธาตุพิการ แก้คลื่นไส้อาเจียน ปวดภายในช่องท้อง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

The Plant List. 2013. “Plectranthus scutellarioides (L.) R.Br.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-158489 (4 สิงหาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Plectranthus L'Hér.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:328178-2 (4 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้