รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-01994


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dimocarpus longan Lour. 'E Dor'

สกุล

Dimocarpus Lour.

สปีชีส์

longan

Variety

E Dor

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ลำไยพันธุ์อีดอ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Longan E Dor
ชื่อวงศ์
SAPINDACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10 ม. บางครั้งสูงได้ถึง 40 ม. กิ่งก้านแข็งแรง 

ใบ ใบประกอบ กว้าง 22.4 ซม. และยาว 23.8 ซม. ใบย่อย 3 คู่ ก้านใบย่อยด้านบนสีเขียวปนแดง ก้านใบย่อยด้านล่างสีเขียวปนแดง ใบอ่อนสีเขียวปนแดง ใบแก่สีเขียว ใบย่อยกว้าง 5.2 ซม. และยาว 16.9 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.9 ซม. ใบรูปร่างรี ขอบใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบเรียบเนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง

ดอก ช่อดอกกว้าง 23.4 ซม. ยาว 32.3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอกตัวผู้ 6.4 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอกกระเทยทำหน้าที่ดอกตัวเมีย 7.6 มม. 

ผล รูปร่างกลมแป้น ปลายผลป้านกลม ผล กว้าง 2.9 ซม. ยาว 2.7 ซม. เปลือกเรียบสีเขียวปนน้ำตาล เนื้อสีขาวขุ่น และฉ่ำน้ำ

เมล็ด เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.4 ซม. กลม และแบนข้าง สีน้ำตาลดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เติบโตที่ระดับความสูงประมาณ 150-450 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดมาจาก หมู่เกาะอันดามัน อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้-ตอนกลาง จีนตะวันออกเฉียงใต้ เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก ไห่หนาน ลาว มาลายา พม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

ลำไยมีการกระจายพันธุ์ใน บอร์เนียว ชวา หมู่เกาะซุนดาน้อย นิวกินี ฟิลิปปินส์ เรอูนียง หมู่เกาะโซไซเอตี และไต้หวัน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา,พืชเศรษฐกิจ

ผล สามารถรับประทานได้ 

เนื้อไม้ สามารถทำเครื่องเรือนได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ร้าน CM-PANMAI. 2560. “กิ่งพันธุ์ลำไยอีดอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.cm-panmai.com/index.php?route=product/product&product_id=56 (7 กันยายน 2560)

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). 2015. “พันธุ์ดอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.arda.or.th/kasetinfo/logan/index.php?option=com_content&view=article&id=239:2010-12-03-09-17-41&catid=2:002&Itemid=1 (11 พฤษภาคม 2560)

Flora of China. “Dimocarpus longan.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200013191 (19 กันยายน 2560)

NanaGarden.com. 2014. “ลำไยอีดอ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.nanagarden.com/shop/6329/ต้นลำไย-longang-tree/05022 (7 กันยายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dimocarpus longan Lour.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:782795-1 (20 ตุลาคม 2560)

Trade Winds Fruit. 2013. “LONGAN.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.tradewindsfruit.com/content/longan.htm (19 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้