รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02005


ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros malabarica (Desf.) Kostel. var. siamensis (Hochr.) Phengklai

สกุล

Diospyros L.

สปีชีส์

malabarica

Variety

siamensis

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะพลับ
ชื่อท้องถิ่น
มะพลับใหญ่ พลับ มะกั๊บตอง มะสูลัวะ (กะเหรี่ยง-ลำปาง)/ มะเขือเถื่อน (สกลนคร)/ ตะโกไทย ปลาบ (เพชรบุรี)
ชื่อสามัญ
Bo tree
ชื่อวงศ์
EBENACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงถึง 15 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 70 ซม. มักมีร่องตามยาว เรือนยอดเป็นทรงพุ่มค่อนข้างกลม กิ่งก้านหนาแน่น เปลือกสีเทาแก่ ค่อนข้างขรุขระและแตกเป็นเกล็ด

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือเกือบแหลม โคนใบมน หรือสอบเข้าคล้ายรูปลิ่ม ผิวใบเกลี้ยงสีเขียวจัด เมื่อแห้งมีสีเหลือง เส้นใบข้างจางเห็นได้ไม่ชัด ก้านใบสั้นมาก ประมาณ 1.0-1.5 ซม. ใบกว้าง 2-10 ซม. ยาว 7-32 ซม.

ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เชื่อติดกันเป็นรูประฆังกว้าง ปลายแยกเป็นแฉก ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกันในดอกเพศผู้ แต่ขนาดใหญ่กว่า รังไข่ค่อนข้างกลม ก้านเกสรแยกเป็น 4 อัน

ผล รูปทรงกลมค่อนข้างแบนในแนวตั้ง ตรงกลางและด้านล่างของผลเป็นรอยลึก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5.0-7.5 ซม. เมื่อสุกมีสีเหลืองหรือส้ม มีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายจาน ขอบเว้าเล็กน้อย 4 พู ติดอยู่แน่น

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าดิบชื้นที่ราบลุ่ม เกิดขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามลำน้ำและลำธารที่ระดับความสูงถึง 300 ม.

มักพบในบริเวณที่ร่มรื่นและเปียกใกล้ลำธารในป่าที่ระดับความสูงถึง 500 ม.

ถิ่นกำเนิด

 

อัสสัม บังคลาเทศ กัมพูชา เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก อินเดีย ชวา ลาว หมู่เกาะซุนดาน้อย มาลายา พม่า เนปาล ศรีลังกา สุลาเวสี สุมาตรา และไทย

การกระจายพันธุ์

ตรินิแดด-โตเบโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา

ผลสุก รับประทานได้
เปลือกต้น ห้ามเลือด สมานแผล รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด ขับลม บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ
เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน
ยางจากผลและลำต้น ใช้แก้แผลน้ำกัดเท้า แก้บิดและท้องร่วง
ดอก แก้ฝีเปื่อย แก้บวม ตกโลหิตและขับพยาธิ
ราก รักษาภายนอกแห้ฝีเปื่อย ภายในแก้ลงท้อง บวมน้ำ ขับพยาธิ แก้ตกโลหิต
ยางจากผลแก่ อุดท้องเรือแทนชันยาเรือ และใช้ทำกาวสำหรับเย็บปกหนังสือ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 808 น.

มูลนิธิสวนหลวง ร.9. 2542. พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9. เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.139 น.

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “มะพลับ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkherb/114-malabarica (17 ตุลาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:322658-1 (20 ตุลาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Diospyros malabarica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Diospyros+malabarica (20 กันยายน 2560)

Wikipedia. 2017. “Diospyros malabarica.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Diospyros_malabarica (20 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้