รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02020


ชื่อวิทยาศาสตร์

Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.

สกุล

Dipterocarpus C.F.Gaertn.

สปีชีส์

obtusifolius

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Dipterocarpus punctulatus Pierre

Dipterocarpus vestitus Wall. ex Dyer

ชื่อไทย
เหียง
ชื่อท้องถิ่น
กุง (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี)/ ตะแบง (ภาคตะวันออก, สุรินทร์)/ ตาด (จันทบุรี, พิษณุโลก)/ ยางเหียง (จันทบุรี, ราชบุรี)/ สะแบง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อุตรดิตถ์)/ เหียง (ภาคกลาง)/ เหียงพลวง เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 8-20 ม. ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ต

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 10-20 ซม. ยาว 13-25 ซม. โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมนหรือหยักเว้าตื้น มีขนสีย้ำตาลทั่วใบ 

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและใกล้ปลายกิ่ง ขนาดดอกขนาด 3.5-5.5 ซม. ก้านดอกมีขนหนาแน่น กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู กลีบดอกรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก สั้น 3 ยาว 2 โคนเชื่อมติดกัน ปลายกลีบเวียนสลับเป็นรูปกังหัน เกสรเพศผู้ 30 อัน อยู่ในหลอดดอก

ผล กลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ขนาดผ่าศูนย์กลาง 3 ซม. ปีกยาว 2 ปีก ขนาดกว้าง 4 ซม. ยาว 13 ซม. มีเส้นตามยาวปีก 1 เส้น เส้นย่อยสานเป็นร่างแห อีก 3 ปีกเล็ก มีขนาดยาว 1.0-1.5 ซม.

เมล็ด 1 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

กัมพูชา ลาว มาลายา พม่า ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน - มกราคม
ระยะเวลาการติดผล
ธันวาคม - มีนาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

ใบ รสฝาด ต้มน้ำผสมน้ำเกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
ใบและยาง รสฝาดร้อน กินเป็นยาตัดลูก (ทำให้ไม่มีบุตร) น้ำมันยาง สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว
ยาง รสร้อน สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว น้ำมัน ใช้ทาแผลภายนอก
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย
ไม้ ใช้ทำที่อยู่อาศัย เครื่องจักสาน และเครื่องใช้สอย
เนื้อไม้ ใช้ทำกระดานและพื้นบ้าน
น้ำมัน จากลำต้นใช้ยาไม้ ยาแนวเรือ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เหียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=935 (25 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “เหียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=136 (25 เมษายน 2560)

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “เหียง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=63 (21 กันยายน 2560)

The Plant List. 2013. “Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2772211 (25 เมษายน 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:320727-1 (20 ตุลาคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Dipterocarpus obtusifolius.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Dipterocarpus+obtusifolius (21 กันยายน 2560)

Wikipedia. 2017. “Dipterocarpus obtusifolius.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Dipterocarpus_obtusifolius (21 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้