รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00021


ชื่อวิทยาศาสตร์

Acanthus ebracteatus Vahl

สกุล

Acanthus L.

สปีชีส์

ebracteatus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Acanthus ilicifolius var. ebracteatus (Vahl) Benoist

Dilivaria ebracteata (Vahl) Pers.

ชื่อไทย
เหงือกปลาหมอ(สีขาวลายเส้นสีชมพู)
ชื่อท้องถิ่น
แก้มหมอ (สตูล)/จะเกร็ง,นางเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป) / แก้มหมอเล(กระบี่) /
ชื่อสามัญ
Sea holly
ชื่อวงศ์
ACANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง สีขาวอมเขียว มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม และที่ปลายใบ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร  

ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปหอกยาว ขอบจักเว้ากว้างๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม แต่บางครั้งอาจพบใบเรียบ กว้าง 3-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. แผ่นใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา มีหนามรอบใบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น เนื้อใบเหนียว ก้านใบสั้น 

ดอก: ดอกออกเป็นช่อตั้งสีขาว บริเวณปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ใบประกอบห่อเป็นช่อตั้ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปเรียว 2 อัน รองรับที่โคนดอก และติดอยู่จนดอกบาน กลีบดอกเป็นท่อปลายบานโตสีขาว ยาว 2-4 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่างมีขนาดใหญ่กว่า ปากล่างสีม่วงอ่อนหรือฟ้าอ่อน มีแถบสีเหลืองตรงกลางกลีบ ปากบนหดสั้น กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบผลเป็นฝักกลมรี รูปไข่ ยาว 2-3 เซนติเมตร เปลือกสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดขนาดเล็ก 4 เมล็ด พบตามป่าชายเลน หรือดินเค็มแถบภาคอีสาน

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าชายเลนบริเวณน้ำกร่อย ป่าโกงกาง

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียตามบริเวณป่าชายเลน หรือชายฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำเค็มและน้ำกร่อย

การกระจายพันธุ์

เขตร้อนของทวีปเอเชีย เขตร้อนของออสเตรเลีย และแถบแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

บและต้น แก้ตกขาว โดยตำเป็นผงละลายน้ำผึ้ง หรือน้ำมันงา ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน

ใบ ต้มกับน้ำดื่ม แก้นิ่วในไต ทั้งต้น 10 ส่วน เข้ากับพริกไทย 5 ส่วน ทำเป็นยาลูกกลอน แก้โรคกระเพาะ ขับเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ

ทั้งต้น ใช้รักษาแผลฝีหนอง รักษาโรคผิวหนังจำพวกพุพอง น้ำเหลืองเสีย ใช้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำอาบหรือชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และผื่นคันตามร่างกาย ต้มรับประทานแก้พิษฝีดาษ พิษฝีภายใน ตัดรากฝีทั้งปวง แก้โรคผิวหนัง 

ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคงูสวัด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “เหงือกปลาหมอ.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=130 (25 ตุลาคม 2559)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “เหงือกปลาหมอ.” [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา  http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_page.asp (25 ตุลาคม 2559)

National Parks Board. 2013. “Acanthus ebracteatus Vahl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=1594 (25 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Acanthus ebracteatus Vahl.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2615237 (25 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้