รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-02679


ชื่อวิทยาศาสตร์

Helicteres isora L.

สกุล

Helicteres Pluk. ex L.

สปีชีส์

isora

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Isora grewiaefolia (DC.) Schott & Endl.

Helicteres roxburghii G. Don

Helicteres grewiaefolia DC.

ชื่อไทย
ปอกะบิด
ชื่อท้องถิ่น
ขี้อ้นใหญ่ ปอทับ (เชียงใหม่)/ มะบิด (ภาคเหนือ)/ ลูกบิด ชะมด (ภาคกลาง)
ชื่อสามัญ
East Indian screw tree
ชื่อวงศ์
MALVACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น สูง 1-3 ม. แตกกิ่งก้านเป็นกอตั้งแต่โคนต้น ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม กิ่งอ่อนมีขนรูปดาวหนาแน่น มีช่องอากาศ เปลือกลำต้นเรียบ มียางเหนียว

ใบ เดี่ยว เรียงเวียนรูปไข่ กว้าง 5.5-7.5 ซม. ยาว 8.5-15.0 ซม. ปลายใบเป็นแฉก ไม่เป็นระเบียบ 3-5 แฉก แฉกกลางสุดยาวคล้ายหาง โคนใบกลมหรือรูปหัวใจ ขอบหยักคล้ายฟันปลา แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่ม ก้านใบ ยาว 0.5-2.0 ซม. มีขน หูใบรูปแถบ ยาว 3-7 มม.

ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ มี 5-8 ดอก ก้านช่อดอกสั้น ก้านดอก ยาว 3-5 มม. มีขน ใบประดับและใบประดับย่อย รูปแถบ ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ยาว 1-2 ซม. เบี้ยว ติดทน มีขนสั้นหนานุ่ม โคนกลีบเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก ไม่เท่ากัน 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม กลีบดอกสีแดงอมส้ม มี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน รูปหอกกลับ ยาว 2.5-3.0 ซม. โค้งพับลง กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน เกสรเพศผู้และเพศเมีย มีก้านชูยื่นยาว โผล่พ้นกลีบดอก

ผล แห้งแตก รูปทรงกระบอก มีขนปกคลุม ผิวสาก กว้าง 0.7-1.0 ซม. ยาว 3-6 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่มีสีน้ำตาลหรือดำ ผลเป็นฝักกลมยาวบิดเป็นเกลียวเหมือนเกลียวเชือก หลังผลแตก ฝักจะอ้าออกเห็น

เมล็ด รูปกึ่งสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สีน้ำตาล ยาว 2.0-2.5 มม. เกลี้ยง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ชายป่าดิบ ที่รกร้าง ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-400 ม.

ถิ่นกำเนิด

 

หมู่เกาะอันดามัน บังคลาเทศ กัมพูชา จีนตอนใต้-ตอนกลาง ไห่หนาน อินเดีย มลายา มาลูกู เนปาล ศรีลังกา ไทย และเวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

เปลือกลำต้นและกิ่ง ให้เส้นใยใช้ทำเชือก กระสอบ กระดาษ ในสมัยก่อนในชวาใช้ทำกระสอบ ในอินเดีย ใช้ทำกระดาษ ต้นปลูกเป็นไม้ประดับ กิ่งและใบ ใช้เป็นอาหารสัตว์

เปลือกต้น ราก และผล รสขม ฝาดเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อม้าม ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือเป็นแผล แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไข้หวัดตัวร้อน ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ปวดเบ่ง
เปลือกต้น ราก รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ
ผล รสฝาด แก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ แก้เสมหะพิการ แก้บิด แก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ตำพอกแก้เคล็ด ขัด บวม ใช้ภายในหรือภายนอก แก้โรคทางลำไส้ โดยเฉพาะในเด็ก แก้บิด
ผล เปลือก ฝาดสมานให้เส้นเอ็น
ทั้งต้น  แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง
ในมาเลเซีย และตอนใต้ของไทย ใช้ ผลแห้ง  เป็นยาบำรุง โดยเฉพาะหลังคลอดบุตร
ประเทศจีน ใช้ ราก รักษาอาการไตอักเสบเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Flora of Chica. “Helicteres isora Linnaeus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200013809 (12 พฤษภาคม 2560)

Phargarden.com. 2010. “Helicteres isora L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=154 (12 พฤษภาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Helicteres isora L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2843218 (12 พฤษภาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens, Kew science. “Helicteres isora L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:321222-2 (3 พฤศจิกายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้