รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03159


ชื่อวิทยาศาสตร์

Hylocereus undatus (Haw.) Britton & Rose

สกุล

Hylocereus Britton & Rose

สปีชีส์

undatus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

 

Cereus tricostatus Rol.-Goss.

Cereus trigonus var. guatemalensis Eichlam

Cereus undatus Pfeiff.

Cereus undatus Pfeiff.

ชื่อไทย
แก้วมังกร
ชื่อท้องถิ่น
ธานห์ลอง (เวียดนาม)/ สกราเนียะ (กัมพูชา)
ชื่อสามัญ
Dragon Fruit/ Pitaya
ชื่อวงศ์
CACTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น แก้วมังกรเป็นเป็นไม้เลื้อย ลำต้นค่อนข้างอ่อนจึงจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึด ขนาดของลำต้นมีความยาวประมาณ 5 ม. มีระบบรากทั้งในดินและรากอากาศ 

ดอก ดอกมีสีขาวขนาดใหญ่กลีบยาวเรียงซ้อนกัน โดยดอกจะบานในเวลาตอนกลางคืน 

ผล ผลแก้วมังกรมีรูปทรงเป็นทรงกลมรี สีของเปลือกผลเมื่อดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นมีสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล ผลแก้วมังกรส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 300 – 600 กรัม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเนื้อของผลแก้วมังกรสีขาวหากผลนั้นเป็นแก้วมังกรพันธุ์เวียดนามหรือพันธุ์ไทย และเนื้อผลจะมีสีแดงหรือชมพูเมื่อผลนั้นเป็นพันธุ์เนื้อสีแดง 

เมล็ด มีเมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา หรือเม็ดแมงลัก กระจายฝังอยู่ทั่วเนื้อ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ โดยหลักอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และสมุทรสงคราม ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดไม่ทราบแน่ชัด แต่น่าจะมาจาก อินเดียตะวันตก แคริเบียน ใต้ของเม็กซิโก ผ่านเบลีซ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และคอสตาริกา

การกระจายพันธุ์

เติบโตขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลกในเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

-สามารถปลูกเป็นพืชประดับเพื่อความสวยงามได้

-ผลเมื่อสุกแล้ว สามารถรับประทานสดได้ นอกจากนี้ผลยังมีประโยชน์ทางด้านสมุนไพร เช่น บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ดับร้อน ดับกระหาย เสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดน้ำหนักและช่วยควบคุมน้ำหนัก ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ชะลอวัยความแก่ชรา และริ้วรอย ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน บรรเทาอาการโรคความดันโลหิต บรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระตุ้นการขับน้ำนมในสตรี ดูดซับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ขับถ่ายให้สะดวก แก้อาการท้องผูก ปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ เสริมสร้างการทำงานของระบบกำจัดของเสียในร่างกาย

 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “แก้วมังกร” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1384/1384 (31 มกราคม 2560)

Cactus-art. “Hylocereus undatus.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.cactus-art.biz/schede/HYLOCEREUS/Hylocereus_undatus/Hylocereus_undatus/Hylocereus_undatus.htm (31 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Hylocereus undatus (Haw.) Britton & Rose.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2856879 (31 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้