รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03616


ชื่อวิทยาศาสตร์

Melientha suavis Pierre

สกุล

Melientha Pierre

สปีชีส์

suavis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Melientha acuminata Merr.

ชื่อไทย
ผักหวานป่า
ชื่อท้องถิ่น
ผักหวาน (ทั่วไป)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
OPILIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 5-15 ม. เนื้อไม้ แข็ง เปลือกของลำต้นเมื่ออายุน้อยผิวเปลือกเรียบ สีเทาอมเขียว และเมื่อ อายุมากขึ้นเปลือกแตกเป็นร่องรูปสี่เหลี่ยม สีเทาอ่อนอมน้ำตาล

ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่าง แคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเมื่ออายุ มากขึ้น ใบแก่เต็มที่รูปรีกว้างถึงรูปไข่หรือไข่กลับ สีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน หรือเว้าบุ๋มมีติ่งหนาม บางครั้งพบปลายใบแหลม ฐานใบสอบเรียว ขนาดใบกว้าง 2.5-5 ซม. ยาวประมาณ 6-12 ซม. ก้านใบสั้น ขนาดยาวประมาณ 1-2 มม.

ดอก: ออกดอกแยกต้น เป็นต้นเพศผู้ และต้นเพศเมีย ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำดับต้นที่ใบร่วงแล้ว ยาวประมาณ 7-12 ซม. ดอกเพศเมียออกเป็นช่อดอกจำนวนมาก ดอกเพศผู้เป็นช่อเดี่ยว หรือมี2-3 ช่อใน กระจุกเดียวกัน กลีบเลี้ยงสีเขียว มีขนาดใหญ่จำนวน 5 กลีบ กลีบดอกขนาดเล็กมาก สีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยกลีบเลี้ยง

ผล: ออกผลเป็นช่อตามลำต้นเหมือนผลของมะไฟหรือ ลางสาด เป็นผลเดี่ยว ภายในมีเมล็ดเดียว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถึงเหลืองอมส้ม ผลมีขนาด ประมาณ 1.5-2.5 ซม. 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทั้งในป่าผลัดใบและ ไม่ผลัดใบ ส่วนมากพบในป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณในทุกภาคของประเทศไทย ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300-900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบตามที่โคก บริเวณที่ดอนสูง สภาพดินเป็นดินลูกรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินดาน ดินกรวดลูกรัง ดินปนทราย

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบ ประเทศเอเชียอาคเนย์

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-มีนาคม
ระยะเวลาการติดผล
เมษายน-พฤษภาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้

การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้น ใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ

เมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน 

ผักหวานป่า สดมีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อหรือเซลในร่างกายถูกทำลายจากมลพิษ ทางอากาศ ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากรังสีของแสงแดด และ ผิวหนังเหี่ยวย่นหรือแก่ก่อนวัย

ใบและราก ใช้รักษาแผล ปวดในข้อ ปวดหัว ปวดท้อง ราก ใช้เป็นยาเย็น ถอนพิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้ น้ำดีพิการ ยาง ใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ณัฏฐากร เสมสันทัด และ บัณฑิต โพธิ์น้อย. 2552. ผักหวานป่า. กลุ่มงานวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. นนทบุรี. 33 น.

ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2010. “ผักหวานป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=1559 (8 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Melientha suavis Pierre.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2502077 (8 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้