รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03707


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Lep Mue Nang'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Lep Mue Nang

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยเล็บมือนาง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Lep Mue Nang
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มีลำต้น 2 ส่วน คือ 1. ลำต้นแท้ ลำต้นแท้ของกล้วยเล็บมือนาง คือ ส่วนเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีลักษณะทรงกลมสั้น ขนาดประมาณ 12-18 ซม. เปลือกหุ้มเหง้ามีสีดำ 2. ลำต้นเทียม ลำต้นเทียมของกล้วยเล็บมือนาง เป็นส่วนที่อยู่เหนือดินที่มักเรียกทั่วไปว่า ต้นกล้วย ซึ่งประกอบด้วยกาบใบที่เรียงซ้อนกันแน่นเป็นวงกลม ขนาดกว้างประมาณ 12-15 ซม.  สูงประมาณ 2-2.5 ม. ผิวกาบด้านนอกสุดมีสีม่วงอมแดง และมีจุดประสีดำกระจายทั่ว หรือบางชนิดมีสีเขียว

ใบ ใบกล้วยเล็บมือนางออกเป็นใบเดี่ยว ประกอบด้วยก้านใบ และแผ่นใบ ก้านใบมีลักษณะเรียวยาว ยาวประมาณ 50-100 ซม. ผิวก้านใบมีสีชมพูอมแดง และมีร่องตรงกลางในด้านบน ถัดมาเป็นแผ่นใบ เป็นรูปขอบขนาน สีเขียวอ่อน กว้างประมาณ 40-60 ซม. ยาวประมาณ 1.5-4 ม.

ดอก ดอกกล้วย เรียกว่า ปลี ปลีของกล้วยเล็บมือนางจะแทงออกตรงกลางของลำต้นเทียม ประกอบด้วยก้านดอกทรงกลม ปลายก้านดอกเป็นช่อดอกหรือปลีกล้วย ที่ประกอบด้วยกาบหุ้มด้านนอกสีแดงอมม่วง กาบหุ้มด้านในมีสีแดงซีด โคนปลีใหญ่ ปลายปลีแหลม เมื่อบานกาบหุ้มจะกางออกจนมองเห็นดอกด้านใน ทั้งนี้ ปลีกล้วยจะออกหลังการปลูกแล้ว 7-8 เดือน

ผล ผลกล้วยมีลักษณะเรียวเล็ก ผลมีสีเหลืองทอง เนื้อมีความนุ่มคล้ายกับกล้วยหอม มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม

ราก กล้วยเล็บมือนางทอง มีระบบรากเป็นแบบ adventitious root ที่มีลักษณะเป็นเส้นกลมยาว แตกออกด้านล่างของหัวหรือเหง้ากล้วย ขนาดรากประมาณ 0.5-1.0 ซม. หยั่งลึกลงดินได้ยาวกว่า 5 ม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า ไทย กัมพูชา มาเลเซีย อินโดเนีย และฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบปลูกเป็นพืชแซมในสวนผลไม้ใน จ.ชุมพร และ จ.สุราษฎร์ธานี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

– ผลกล้วยสุกนิยมรับประทานกันมาก เนื่องจากผลเล็กกะทัดรัด เนื้อนุ่ม รสหวาน และมีกลิ่นหอม เป็นที่ชื่นชอบของชาวใต้ และนักท่องเที่ยว ส่วนผลดิบไม่นิยมนำมาแปรรูปเหมือนกล้วยชนิดอื่น เพราะมีขนาดผลเล็ก
– ใบตองใช้ห่อข้าวหรือใช่อประกอบอาหาร
– หยวกกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร อาทิ แกงหยวกกล้วยใส่ปลา ใส่เนื้อ ใส่หมู เป็นต้น
– ก้าน และใบ ใช้เลี้ยงโค กระบือ หรือสุกร
– หยวกกล้วย และหน่ออ่อนนำมาเลี้ยงหมู
– กาบลำต้นที่แห้งแล้ว นำมากรีดเป็นเส้นใช้แทนเชือกรัดของ

หมายเหตุ

ผลกล้วยเล็บมือนางจะต้องให้มีก้านเกสรตัวเมียนั้นห้อยติดมาด้วย เพราะจะช่วยให้กล้วยมีความสมบูรณ์ มีรสหวาน และมีกลิ่นหอม

แหล่งอ้างอิง

Puechkaset.com. 2560. “กล้วยเล็บมือนาง” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยเล็บมือนาง/ (23 เมษายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้