รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03787


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Hin'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Hin

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยหิน
ชื่อท้องถิ่น
ซาบา (ฟิลปปินส์)/ ปิซังบาตู (มาเลเซีย)
ชื่อสามัญ
Kluai Hin
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นขนาดใหญ่ สูง 3.5-5.0 ม. โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ 70 ซม. กาบด้านนอกสีเขียวนวล

ใบ ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด ใบกว้าง 40-50 ซม. ยาว 1.5 ม.

ดอก ช่อดอกค่อนข้างป้อมสั้น รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ใบประดับด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง ใบไม่ม้วนงอ

ผล เครือหนึ่ง มี 7-10 หวี หวีหนึ่ง มี 15-20 ผล ผลรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ซม. ยาว 8-12 ซม. ผลดิบสีเขียว เนื้อแข็ง เมื่อสุกสีเหลือง เนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง แน่นแข็ง ไม่ยุ่ย ปลายจุกป้าน ผลเรียงเป็นระเบียบ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นทั่วไปตามธรรมชาติที่เป็นบริเวณหินกรวด ริมฝั่งแม่นํ้าปัตตานี

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเทศไทยพบปลูกมากที่จ.ยะลา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชให้ร่มเงา

- ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงปลีและผล โดยเฉพาะผลมีรสชาติอร่อย แปรรูปได้หลายอย่าง
- ปลูกแซมในสวนยางและสวนผลไม้ เป็นร่มเงาได้ดีมาก ทำให้สวนผลไม้มีความชื้น ต้นไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น

ราก นำมาต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
หยวกกล้วย เป็นอาหารที่ใช้ล้างทางเดินอาหาร หากนำมาเผาไฟรับประทานขับพยาธิ ส่วนน้ำคั้นจากต้น ใช้ทาป้องกันผมร่วง และทำให้ผมขึ้น
ใบตอง ปิ้งไฟปิดแผลจากไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผื่นคัน น้ำจากก้านใบใช้เป็นยาฝาดสมาน รักษาโรคท้องเสีย แก้บิด
ผลดิบ ใช้เป็นยาฝาดสมาน แป้งกล้วยดิบใช้โรยแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ แก้อาการอาหารไม่ย่อย ท้องขึ้นมีกรดมาก ส่วนผลสุกใช้เป็นยาระบาย
หัวปลี จิ้มน้ำพริกช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน

หมายเหตุ

กล้วยหิน พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ.2488 ที่ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยจะพบขึ้นทั่วไปตามธรรมชาติที่เป็นบริเวณหินกรวด ริมฝั่งแม่นํ้าปัตตานี ซึ่งกล้วยสายพันธุ์อื่นไม่สามารถจะขึ้นในพื้นที่แบบดังกล่าวได้ จึงถูกเรียกชื่อว่า “กล้วยหิน” เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. ““กล้วยหิน” อร่อยแปรรูปปลูกคุ้ม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/515118 (8 มิถุนายน 2560)

ระบบจัดการความรู้ การยางแห่งประเทศไทย. 2556. “กล้วยหิน (Kluai Hin).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7729:2013-09-06-03-56-58&catid=62:2011-06-03-09-13-28&Itemid=177 (8 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้