รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04497


ชื่อวิทยาศาสตร์

Oroxylum indicum (L.) Kurz

สกุล

Oroxylum Vent.

สปีชีส์

indicum

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Arthrophyllum ceylanicum Miq.

Bignonia indica L.

Bignonia lugubris Salisb.

Bignonia pentandra Lour.

ชื่อไทย
เพกา
ชื่อท้องถิ่น
ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน)/ กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี)/ ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน)/ มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ)/ เบโด (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
Broken Bones Tree/ Damocles Tree/ Indian Trumpet Flower
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-12 เมตร ตามลำต้นมีรอยแผลใบชัดเจน ไม้เนื้ออ่อน แตกกิ่งก้านน้อย

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากอยู่หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ ขนาดผ่าศูนย์กลาง 6-9 ซม.กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกสีเหลืองนวลหรือแกมเขียว กลีบด้านนอกมีสีม่วงแดง หนาย่น ดอกจะบานกลางคืนหรือรุ่งเช้า

ผล เป็นฝักรูปดาบแบน ขนาดใหญ่ สีเขียว กว้าง 8-12 ซม. ยาว 40-60 ซม. เมื่อแก่ฝักเป็นสีน้ำตาลจะแตกออกตามยาว

เมล็ด แบน มีปีกบางสีขาว

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นได้ทั่วไป บริเวณ ชายป่าดิบ ที่โล่งและไร่ร้าง ที่ระดับต่ำจนถึงความสูง 800 ม.

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - จีนตอนใต้ อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียด นาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น สมานแผล ทำน้ำเหลืองให้เป็นปกติ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับเลือดดับพิษโลหิต บำรุงโลหิต แก้เสมหะจุกคอ ขับเสมหะ แก้อาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้บิด แก้จุกเสียด แก้อาเจียนไม่หยุด ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ แก้เบาหวาน แก้โรคมานน้ำ แก้องคสูตร แก้ริดสีดวงทวารหนัก ทวารเบา แก้ฟกบวม แก้คัน เปลือกต้น มีรสฝาดขมเย็น เป็นยาฝาดสมาน ดับพิษโลหิต ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้น้ำเหลืองเสีย

ราก เปลือกราก มีรสฝาดขมเย็น แก้ปวดท้อง เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ท้องเสีย ขับเหงื่อ ทำให้เกอดน้ำย่อยอาหาร เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต แก้อาการอักเสบ ฟกบวม

ใบ มีรสฝาดขม นำมาต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง ปวดข้อ ทำให้เจริญอาหาร

ผล ฝักอ่อน มีรสขมร้อนช่วยขับผายลม เป็นยากวาดประซะพิษซางเด็ก แก้ละองขึ้นในปาก คอลิ้น แก้ละอองไข้ ผิวหนังชา แก้ปวดฝี แก้อาการฟกบวมอักเสบฝักแก่มีรสขม แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

เมล็ด มีรสขม เป็นยาถ่าย เมล็ดแก่ใช้เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 112 น.

ThaiHerbal.org. 2014. “เพกา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherbal.org/1906 (24 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Oroxylum indicum (L.) Kurz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-317739 (24 ตุลาคม 2559)

Useful Tropical Plants. 2017. “Oroxylum indicum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Oroxylum+indicum (24 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้