รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-04889


ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus acidus (L.) Skeels

สกุล

Phyllanthus L.

สปีชีส์

acidus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Averrhoa acida L.

Cicca acida (L.) Merr.

Cicca acidissima Blanco

Cicca nodiflora Lam.

Diasperus acidissimus (Blanco) Kuntze

ชื่อไทย
มะยม
ชื่อท้องถิ่น
หมักยม หมากยม (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ
Star gooseberry
ชื่อวงศ์
PHYLLANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. ลำต้นเปลาตรงและแตกกิ่งก้านสาขาทึบบริเวณยอด กิ่งก้านเปราะหักง่าย เปลือกต้นขรุขระมีเท่าปนน้ำตาล

ใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ระนาบเดียว บนกิ่งที่ยาวประมาณ 15-30 ซม. ดูคล้ายใบประกอบ แต่ละกิ่งมี 20-30 คู่ ใบรูปไข่ รูไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนาน หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูน กว้าง 1.3-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม. ฐานใบมน ปลาบใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ

ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่ง ช่อดอกยาว 5-10 ซม. ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เกิดที่ปลายช่อ กลีบเลี้ยง 6 กลีบ แยกกัน ไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมีย มีกลีบเลี้ยงสีชมพูแดง 6 กลีบ ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว

ผล รูปร่างกลมแบน มี 6-8 ร่อง เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง

เมล็ด  เมล็ดภายในรูปร่างกลมและคอนข้างแข็งมีสีน้ำตาลอ่อนและมีจำนวน  1 เมล็ดผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พื้นที่สูง 200-2,300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

 Brazil

การกระจายพันธุ์

กัมพูชา อินเดีย มาเลเซีย พม่า เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย อเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ยอด ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก

ราก แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

ใบ แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว หัด และ อีสุกอีใส

ผล รักษาโรคมะเร็ง ช่วยชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย ช่วยดับร้อนและปรับสมดุล ดับพิษเสมหะ ยาระบาย ยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงโลหิต

ผลแก่ มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้ นำมาดอง หรือแช่อิ่ม

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

ThaiHerbal.org. 2015. “มะยม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1071 (29 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Phyllanthus acidus (L.) Skeels.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-153279 (29 ตุลาคม 2559)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Phyllanthus acidus (L.) Skeels.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:194610-2 (29 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้