รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05366


ชื่อวิทยาศาสตร์

Scoparia dulcis L.

สกุล

Scoparia L.

สปีชีส์

dulcis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Ambulia micrantha Raf.

Capraria dulcis (L.) Kuntze

Scoparia grandiflora Nash

Scoparia nudicaulis Chodat & Hassl.

Scoparia procumbens Jacq.

Scoparia purpurea Ridl.

Scoparia ternata Forssk.

ชื่อไทย
กรดน้ำ
ชื่อท้องถิ่น
กระต่ายจามใหญ่ มะไฟเดือนห้า(กทม.) / กัญชาป่า (กทม.,ปราจีนบุรี) / ขัดมอนเทศ(ตรัง) / ขัดมอนเล็ก(กลาง) / ตานซาน(ปัตตานี) / เทียนนา(กลาง,จันทบุรี) / ปีกแมงวัน(กาญจนบุรี) / หญ้าจ้าดตู๊ด หูปลาช่อนตัวผู้(ตราด) / หญ้าหัวแมงฮุน(เหนือ) / หนวดแมว(กลาง,เลย)
ชื่อสามัญ
Macao tea
ชื่อวงศ์
PLANTAGINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: พืชล้มลุก อายุปีเดียว สูง 30-50 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม

ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรอบกิ่งเป็นวง วงละ 3 ใบ รูปไข่กลับถึงแกมขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. โคนใบและปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบจัก ก้านใบสั้นไม่เด่นชัด

ดอก: ดอกสีขาวหรือแกมสีม่วงอ่อน เป็นดอกเดี่ยวออกตากซอกใบ ขนาดดอกบาน 8-10 มม. กลีบดอก 4 กลีบ ปลายกลีบแหลม บริเวณโคนกลีบด้านในมีขนสีขาวละเอียด ก้านดอกยาว 4-8 มม. เกสรผู้ 4 อัน ตั้งบนฐานกลีบดอก เกสรเมียตอนปลายยอดเป็นปุ่มใหญ่

ผล: ผลรูปทรงกลม ขนาด 3 มม. ผิวเรียบ เกลี้ยง มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อน ขึ้นตามที่แห้งแล้ง โล่งแจ้งที่ระดับความสูงถึง 1,000 ม. ในธรรมชาติพบตามที่รกร้าง รอมทาง ชายป่า นาข้าวและริมน้ำทุกภาคของไทย

อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินทั่วไป
น้ำ: ปานกลาง-มาก
แสงแดด: ตลอดวัน

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทางทวีปอเมริกา

การกระจายพันธุ์

กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และทวีปอเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ยอดอ่อน รับประทานกับลาบ

ทั้งต้น ลวกกินกับน้ำพริก มีรสหวานเล็กน้อย ต้มกินกับน้ำพริก แก้อาการท้องเสีย นำไปต้มแล้วใช้ไอน้ำมารมแผลสด ช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

ใบ เคี้ยวกินเล่นมีรสหวานหรือใช้รับประทานกับลาบหรือ ใช้ใส่แกงเพื่อเพิ่มรสชาติกลมกล่อม ใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ 

ราก ต้มน้ำดื่มร่วมกับลูกใต้ใบและหญ้าปันยอด เป็นยาแก้อาการปวดข้อ ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ เป็นต้น แก้โรคหัวใจอ่อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลำต้น บำรุงธาตุ 

ผล แก้เหงือกบวม ทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย [5] 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กระต่ายจาม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=1226 (8 กรกฎาคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Macao tea - Sweet Broomweed, Macao Tea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=818&name=-%20Macao%20tea%20-%20Sweet%20Broomweed,%20Macao%20Tea%20[1] (8 กรกฎาคม 2560)

สำนักพิมพ์บ้านและสวน. 2558. “กรดน้ำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://book.baanlaesuan.com/plant-library/scoparia-dulcis/ (8 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Scoparia dulcis L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2585469 (8 กรกฎาคม 2560)

The Royal Botanic Gardens,Kew science. “Scoparia dulcis L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:230902-2 (8 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้