รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05439


ชื่อวิทยาศาสตร์

Spondias pinnata (L. f.) Kurz

สกุล

Spondias L.

สปีชีส์

pinnata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Mangifera pinnata L. f.

ชื่อไทย
มะกอก
ชื่อท้องถิ่น
กอกกุ๊ก กุก(เชียงราย)/ ไพแซ (เชียงใหม่)/ กอกหมอง(ไทยใหญ่-เหนือ)/ กอกเขา(นครศรีธรรมราช)/ กราไพ้ย ไพ้ย(กาญจนบุรี)
ชื่อสามัญ
Hog plum, Wild mango
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้น สูง 15-30 ม. เปลือกต้นเรียบ สีเทา

ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 4-6 คู่ ขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม.

ดอก ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน

ผล เมล็ดเดียว แข็ง รูปไข่ กว้าง 2.5-3.5 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง 50-500 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน และวานูอาตู

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - ตอนใต้ของจีน อนุทวีปอินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะโซโลมอน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

เนื้อไม้ ทำแบบก่อสร้าง

ผลแก่ รับประทานได้ และเป็นอาหารสัตว์ ผล รสเปรี้ยวอมหวานเย็น เป็นยาฝาดสมาน แก้เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ แก้ธาตุพิการ แก้โรคขาดแคลเซียม เนื้อในผล แก้ธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ แก้บิด ผล ใบ และเปลือกลำต้น แก้ร้อนใน ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หอบ บำรุงธาตุ และแก้บิด

เปลือกลำต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว ช่วยสมานแผล มีกลิ่นหอม ฝาดสมานและเป็นยาเย็น ใช้ในโรคท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ แก้บิดปวดมวน ระงับอาเจียน ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้สะอึก ยางจากต้น มีลักษณะใส สีน้ำตาลปนแดง ไม่ละลายน้ำ แต่จะเกิดเป็นเมือก ใช้ติดของ และทำให้เยื่อเมือก อ่อนนุ่ม เปลือกต้นและแก่น เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ใบ รสฝาดเปรี้ยว แก้ปวดท้อง น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู แก้หูอักเสบ ใบมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยว และฝาดสมาน เป็นผักจิ้ม และแต่งกลิ่นอาหาร 

ปลูกเป็นพืชให้ร่มเงา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “มะกอก.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=87 (31 มกราคม 2560)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “มะกอก” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1790 (31 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Spondias pinnata (L. f.) Kurz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-1300003 (31 มกราคม 2560)

Useful Tropical Plants. 2017. “Spondias pinnata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Spondias+pinnata (31 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้