รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05573


ชื่อวิทยาศาสตร์

Tamarindus indica L. 'Sor Kor 19'

สกุล

Tamarindus Tourn. ex L.

สปีชีส์

indica

Variety

Sor Kor 19

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
มะขามเปรี้ยวพันธุ์ ศก 019
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นเป็นพุ่มทึบ ลักษณะทรงพุ่ม เป็นครึ่งวงกลม

ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ออกเรียงสลับ ใบเป็นสีเขียว มีใบย่อยประมาณ 13-18 คู่

ดอก: ดอกสีเหลือง ริ้วแดง ช่อดอกยาว 4.7-11 ซม. กลีบดอกยาว 1.2-1.7 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 1.1-1.6 ซม.

ผล: ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล มีลักษณะตรง และขนาดฝักใหญ่ ยาว 10.8-18 ซม. กว้าง 2.0-2.4 ซม. และหนา 1.4-1.6 ซม. เนื้อมีรสเปรี้ยว 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

สามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด เช่น ดินทราย ดินเหนียว ดินลูกรัง แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย และมีการระบายน้ำดี มะขามเปรี้ยวเป็นพืชทนแล้ง ขึ้นได้ในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง 

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน

การกระจายพันธุ์

มีการนำเข้ามาในทวีปเอเชียในแถบประเทศเขตร้อน และประเทศแถบละตินอเมริกา ในปัจจุบันนิยมปลูกมากในประเทศเม็กซิโก

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

นิยมนำมาปรุงรสอาหาร

เปลือกต้น มีรสฝาดเมาร้อน แก้แมงกินฟัน แก้เหงือกบวม แก้พยาธิผิวหนัง ต้มหรือฝนกับน้ำปูน ใส ทารักษาบาดแผลเรื้อรัง  ใช้ชะล้างบาดแผล

แก่น มีรสฝาดเมา กล่อมเสมหะและโลหิต

ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ขับเลือดลมในลำไส้ ขับเสมหะ ฟอกโลหิต แก้บิด แก้ไอ

หมายเหตุ

ปี 2540 กรมวิชาการเกษตร จึงได้รับรองพันธุ์ ให้มะขามเปรี้ยวพันธุ์ศรีสะเกษ 019 หรือ ศก.019 ที่ให้ผลผลิตดก ฝักใหญ่ตรง มีรสเปรี้ยวสูง เป็นพันธุ์ดี มีคุณภาพ

ลักษณะดีเด่นของมะขามเปรี้ยวพันธุ์ ศรีสะเกษ 019 หรือ ศก.019

  • ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 9.13 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (ค่าเฉลี่ยของผลผลิต 6 ปี เมื่ออายุ 3 -8 ปี) เมื่อเปรียบเทียบกับมะขามเปรี้ยวพันธุ์ทั่วๆ ไป มะขามเปรี้ยวศรีสะเกษจะให้ผลผลิตสูงกว่า 41.18 %
  • อัตราส่วนของเนื้อต่อเปลือก เมล็ดและรก ประมาณ 1 : 1.12
  • ฝักมีลักษระตรง ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวและแกะเอาเปลือกและเมล็ดออก
  • มีเปอร์เซ็นต์กรดทาร์ทาริคสูงประมาณ 14 – 19 %
แหล่งอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ, มติชนกรุ๊ป. “Tamarindus indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1720 (23 กรกฎาคม 2560)

Bangkok Today. 2017. “ปลูกมะขามเปรี้ยวขาย สร้างรายได้ดี ต่อเนื่องระยะยาว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.bangkoktoday.net/sisaket-019-tamarind/ (23 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Tamarindus indica L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-1720 (23 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้