รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-05610


ชื่อวิทยาศาสตร์

Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottl.) Roxb.

สกุล

Thunbergia Retz.

สปีชีส์

grandiflora 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Flemingia grandiflora Roxb. ex Rottl. 

Thunbergia adenophora W.W. Sm.

Thunbergia chinensis Merr.

ชื่อไทย
สร้อยอินทนิล
ชื่อท้องถิ่น
ช่ออินทนิล (กทม.)/ ช่องหูปากกา (ใต้)/ น้ำผึ้ง (ชลบุรี)/ ปากกา (ยะลา)/ ย่ำแย้ (พิษณุโลก อุตรดิตถ์)
ชื่อสามัญ
Bengal Clock vine
ชื่อวงศ์
ACANTHACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้เถาเลื้อยพัน ยาวถึง 30 ม. ลำต้นมีเนื้อไม่ค่อยข้างแข็ง รูปร่างกลมยาว หรือทรงกระบอก แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก ขึ้นปกคลุมต้นไม้อื่น

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ เวียนรอบลำต้นหรือกิ่ง ก้านใบยาว 2-5 ซม. แผ่นใบรูปหัวใจกว้าง กว้าง 8-11 ซม. ยาว 8.5-13.0 ซม. ปลายใบแหลม เรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบเว้าลึก ขอบใบหยักเป็นพูเล็ก ๆ หลายพู ไม่สม่ำเสมอ ปลายพูมนหรือแหลม ใบสาก มีขนละเอียดแข็งปกคลุมโดยเฉพาะด้านล่างของใบ เนื้อใบบาง ผิวสีเขียวจัด เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น

ดอก ออกเป็นช่อห้อยจากข้อลำต้นหรือกิ่งเป็นคู่ ช่อดอกยาว 30-100 ซม. ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ มีใบประดับสีเขียวอ่อน มีขนละเอียดและจุดสีน้ำตาลประปรายปกคลุมดอกเมื่อยังตูม เมื่อดอกเริ่มบานกลีบดอกจะโผล่ออกจากใบประดับ กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นขอบเล็ก ๆ รอบกลีบดอก กลีบดอกสีม่วงอ่อนถึงสีม่วงเข้ม มีโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็ก ๆ ส่วนที่เหลือแผ่ออกเป็นท่อโตและปากแตร ปลายแยกเรียงซ้อนกันเป็น 5 กลีบ ภายในท่อกลีบมักมีสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน ดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 ซม. 

ผล เป็นผักแห้งแตกได้ รูปค่อนไปทางกลม เส้นผ่าศูนย์กลางกว้างได้ถึง 2 ซม. มีขนละเอียดปกคลุม ปลายเป็นจะงอยรูปใบดาบ ยาวได้ถึง 2.5 ซม.

เมล็ด รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กว้างได้ถึง 8 มม. ยาวได้ถึง 10 มม. ผิวมีรอยย่นร่วมศูนย์กลาง เมื่อแก่สีน้ำตาล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ทั่วไปในป่า เลื้อยขึ้นพันไม้อื่น ทั้งในป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณ ป่าชั้นสอง ในบริเวณพื้นล่างถึงป่าดิบเขาสูง 1,000 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตอนเหนือ พม่า และไทย

การกระจายพันธุ์

ขึ้นกระจายตั้งแต่ตอนเหนือของอินเดีย จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

ปลูกประดับตามรั้วบ้าน

ใบ ใบสดบดเป็นยาพอกบนแผลสดเป็นยาสมานแผล แก้บวมบรรเทาความเจ็บปวดจากกระดูกหัก

ทั้งต้น ตำอาบแก้อาการคัน ตุ่มหนอง อาการบวม อักเสบ บาดแผลสดที่เกิดจากหนามเกี่ยว ใบพืชบาดตามร่างกาย ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง เสริมสุขภาพ หรือเป็นยาขับปัสสาวะ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720น.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นเฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 153 น.

The Plant List. 2013. “Thunbergia grandiflora (Roxb. ex Rottl.) Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2436154 (30 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้