รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06136


ชื่อวิทยาศาสตร์

Gluta usitata (Wall.) Ding Hou

สกุล
Gluta
สปีชีส์
Gluta usitata
Variety
Sub Variety
Form
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Melanorrhoea usitata Wall.

ชื่อไทย
รักใหญ่
ชื่อท้องถิ่น
รัก (กลาง)/ ฮักหลวง (เหนือ)/ น้ำเกลี้ยง (สุรินทร์)/ มะเรียะ รักเทศ (เชียงใหม่)/ รัก ชู้ สู่ (กาญจนบุรี)/ฮักขี้หมู/ฮักหมู
ชื่อสามัญ
Red zebra wood, Vanish tree
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นร่องยาว เปลือกชั้นในสีชมพูอ่อน กิ่งอ่อนและยอดปกคลุมด้วยขนยาวสีขาว กิ่งแก่เกลี้ยง หรือมีขนสั้นๆ น้ำยางเหนียวใส เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ชัดเจน ใบคล้ายใบมะม่วงหิมพานต์ มักพบแมลงไข่ไว้ตามใบและจะเกิดเป็นตุ่มกลมๆตามใบ

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3.5-12 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายแหลมหรือกลม โคนมนหรือรูปลิ่ม ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบแก่มีสีเขียวเข้ม มีไขปกคลุม ผิวใบมีขนสีน้ำตาลทั้งสองด้านโดยเฉพาะเมื่อใบอ่อน มีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนสีน้ำตาลประปราย ท้องใบมีขนหนาแน่นแต่จะหลุดไปเมื่อใบแก่เต็มที่ เส้นแขนงใบ ข้างละ 15-25 เส้น นูนชัดเจนทางด้านบน เป็นแบบร่างแหชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซม.

ดอก: ออกเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง หรือใกล้ปลายกิ่งและซอกใบ มักทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเริ่มบานจากสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงสด ดอกออกเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นในซอกใบบนๆ ช่อดอกยาวได้ถึง 35 ซม. ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นนุ่ม สีน้ำตาลปกคลุม ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกตูม รูปขอบขนาน มีขนประปราย ที่ปลายมีขนเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาวมีแถบสีเหลืองแกมเขียวตรงกลาง กลีบดอก 5-6 กลีบ แผ่กว้าง ปลายแคบแหลม ด้านหลังกลีบมีขน กลีบดอกขยายขนาดขึ้น และกลายเป็นปีกเมื่อติดผล จานฐานดอกเกลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ในดอกแก่กลีบเลี้ยงรูปร่างคล้ายหมวก กว้าง 0.7-1.8 มม. ยาว 3-7.5 มม. สีแดง ผิวด้านในมีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้ประมาณ 30 อัน ก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน ติดด้านข้างของรังไข่

ผล: ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 ซม. มีส่วนของกลีบดอกที่ขยายเป็นปีก ที่โคนก้านผลสีแดง มี 5 ปีก  รูปขอบขนาน ระหว่างโคนปีกกับผลมีก้านเชื่อมยาว 1.5 ซม. ปีกยาว 5-10 ซม. มีเส้นปีกชัดเจน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบขึ้นกระจายทั่วไป ในป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้าโล่ง เขาหินปูน ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,000 เมตร

ถิ่นกำเนิด
การกระจายพันธุ์
การปลูกและการขยายพันธุ์
ระยะเวลาการติดดอก
พฤศจิกายน-ธันวาคม
ระยะเวลาการติดผล
พฤศจิกายน-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์

เปลือกต้น รสเมา ต้มน้ำดื่ม แก้กามโรค บิด ท้องร่วง ปวดข้อเรื้อรัง เข้ายาบำรุงกำลัง ขับเหงื่อ ช่วยให้อาเจียน เป็นยารักษาโรคเรื้อน 

เปลือกรากรสเมาเบื่อ แก้ไอ แก้โรคตับ ท้องมาน พยาธิลำไส้ รักษาโรคผิวหนัง 

ผล เรียกว่า "ลูกรักเทศ" แก้กุฏฐโรค (โรคเรื้อน) 

เมล็ด ใช้แก้ปากคอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวดฟัน แก้คุดทะราด ริดสีดวง แก้อักเสบและปวดไส้เลื่อน น้ำยาง รสขมเอียน เป็นยาถ่ายอย่างแรง และกัดเนื้อสด น้ำยางผสมน้ำยางสลัดไดรักษาโรคผิวหนัง กลาก ริดสีดวงทวาร แก้ปวดฟัน รักษาโรคตับ ผสมกับน้ำผึ้ง รักษาโรคที่ปาก เอาสำลีชุบอุดฟันที่เป็นรู แก้ปวด ทำยารักษาโรคเรื้อน โรคตับ และพยาธิ  

น้ำยาง มีประโยชน์ใช้ทำน้ำมันเคลือบเงา  น้ำยางใสเมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และเป็นมัน ใช้ทาไม้รองพื้นสำหรับปิดทอง ในการทำเครื่องเขิน ขั้นตอน “ลงรัก ปิดทอง”

ลำต้นหรือราก ผสมลำต้นหรือรากมะค่าโมง ต้มน้ำดื่ม แก้อาเจียนเป็นเลือด 

แก่น ต้มน้ำอาบรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน

หมายเหตุ
แหล่งอ้างอิง

กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/flora/plant_pages.php?varname=3 (6 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน. 2556. “Gluta usitata (Wall.) Ding Hou” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/plantdb/mdp/medicinal-specimen.asp?id=12 (6 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=276 (6 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “รักใหญ่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_page.asp (6 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้