รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06342


ชื่อวิทยาศาสตร์

Basella rubra L.

สกุล
Basella
สปีชีส์
Basella rubra
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ผักปลังแดง
ชื่อท้องถิ่น
ผักปลังยอดแดงครั่ง ผักปั๋ง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Indian spinach, Ceylon spinach
ชื่อวงศ์
BASELLACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ ยาวได้ถึง 6 ม. ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียวม่วงหรือสีม่วงอมแดง

ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อ ก้านใบสั้น ยาว 5-10 มม. ใบมีทั้งรูปไข่และรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า กว้าง 4-10 ซม. ยาว 5-15 ซม. ใบค่อนข้างหนา เมื่อขยี้ใบจะมีเมือกสีใส

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ยาว 3-21 ซม. ไม่มีก้านดอก ดอกเล็กมาก ขนาด 3-4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาว ชมพู หรือม่วง ฐานติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน เกสรเพศเมีย 3 อัน

ผล ลักษณะกลมแบน กว้าง 5-8 มม. ยาว 5-10 มม. เมื่อผลแก่สีม่วงอมดำ มีเนื้อนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วง

เมล็ด หนึ่งผลมี 1 เมล็ด สีน้ำตาลอ่อน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในที่โล่งแจ้ง ตามป่าทั่วไป ในที่ราบหรือบนเขา ที่ระดับความสูงถึง 2,000 ม. เหนือระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

-

การกระจายพันธุ์

พบในประเทศแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นพืชปลูกในประเทศเขตร้อนในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และปักชำกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ต้น ตำเอาน้ำทาแก้อักเสบ พิษฝี กินแก้พิษฝีดาษ ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ แก้ท้องผูก ท้องแน่น ท้องเฟ้อ ไส้ติ่งอักเสบ ทั้งต้นใช้แก้หืด แก้ไอ ก้านผักปลังแดง แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้ท้องผูกและลดไข้ ใช้ลำต้นตำละเอียดทาช่องคลอด เพื่อให้คลอดง่ายขึ้น

ราก ใช้เป็นยาถู หรือนวดให้เลือดไหลเวียน แก้มือเท้าด่าง สระผมแก้รังแค ต้มน้ำดื่มแก้ท้องผูก น้ำที่คั้นจากรากเป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี ช่วยขับอุจจาระและปัสสาวะ

ใบ นำมาตำใช้พอกแผลสด แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ฝีอักเสบ ฝีดาษ ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้กับสตรีมีครรภ์และเด็ก เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก แก้บิด รักษากระเพาะอาหารพิการ ริดสีดวงทวาร และโรคหนองใน

ดอก คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังแห้งแตก โรคผิวหนังกลากเกลื้อน โรคเรื้อน แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ และพิษฝีดาษ

ผล ใช้แก้พิษต่าง ๆ สีของผลช่วยแต่งอาหารให้น่ารับประทาน

ใบ ดอกอ่อนและยอดอ่อน นำมารับประทานเป็นอาหาร เป็นผักสด หรือปรุงใส่แกง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

มูลนิธิโครงการหลวง.2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 720 น.

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Indian Spinach, Ceylon spinach.” [ระบบออนไลน์]. https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1347&name=Indian%20Spinach,%20Ceylon%20spinach&txtSearch=&sltSearch= แหล่งที่มา (15 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้