รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06343


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ocimum tenuiflorum L.

สกุล
Ocimum
สปีชีส์
Ocimum tenuiflorum
Variety
-
Sub Variety
-
Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Geniosporum tenuiflorum (L.) Merr.

Lumnitzera tenuiflora (L.) Spreng.

Moschosma tenuiflorum (L.) Heynh.

Ocimum anisodorum F.Muell.

ชื่อไทย
กะเพราแดง
ชื่อท้องถิ่น
กวมก้อ กวมก้อดง (เชียงใหม่), กระเพราขน กระเพราขาว กระเพราแดง (ภาคกลาง), ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อิ่มคิมหลำ (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Holy Basil, Sacred Basil
ชื่อวงศ์
LAMINACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 ซม. โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามกิ่งก้านมีขน ลำต้นมีสีม่วงแดง

ใบ ใบเดี่ยว สีม่วงแดง ออกเรียงตรงข้าม ใบรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย และเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนใบกว้าง 8-10 ซม. ยาว 2.5-5.0 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อ แบบช่อฉัตร ออกบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 8-10 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ ออกเป็นวงรอบช่อ เรียงเป็นชั้น ก้านดอกยาว 2-3 มม. และกางออกเกือบตั้งฉากกับแกนช่อ โคนกลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ปลายแยกเป็นสองส่วน กลีบเลี้ยงสวนบนมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม กลีบเลี้ยงส่วนล่างปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวปนม่วงแดง รูปปากเปิด ด้านบนมี 4 กลีบปลายกลีบมนมีขนาดใกล้เคียงกัน ด้านล่างมี 1 กลีบขนาดยาวกว่าด้านบน กลางกลีบเว้นตื้น ๆ ปลายกลีบม้วนพับลง มีขนละเอียดประปราย เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน อับเรณูสีเหลืองสด โคนก้านอับเรณูมีขน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไม่มี 4 พู

ผล ผลแห้งแตก

เมล็ด มีขนาดเล็ก รูปไข่ สีน้ำตาล เมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

เอเชียเขตร้อน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ใบและยอดกะเพรา ลดอาการท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง ทำให้เรอ แก้ท้องร่วง แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ใช้ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง แก้อาการปวดท้องในเด็กทารก ใช้ใบสดตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำนำมาผสมกับน้ำยามหาหิงคุ์ แล้วใช้ทาบริเวณ รอบๆ สะดือ และทาที่ฝ่าเท้าแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ ใช้เป็นยาเพิ่มน้ำนมสตรีหลังคลอด ขับน้ำนม บรรเทาอาการไข้เรื้อรัง แก้ปวดฟัน

โบราณใช้น้ำคั้นใบกะเพรา กินเพื่อขับเหงื่อ แก้ไข้ ขับเสมหะ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ทาผิวหนังแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนังอื่นๆ ใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู ใบกะเพราะทำเป็นยาชง ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ และขับลมในเด็กอ่อน คนไทยสมัยก่อนนิยมกินแกงเลียงใบกะเพราหลังคลอดบุตร เพื่อขับลมและบำรุงธาตุให้เป็นปกติ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

รศ. บุศบรรณ ณ สงขลา. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก

Thaicrudedrug.com. 2010. “กะเพราแดง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=9 (8 สิงหาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Ocimum tenuiflorum L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-137105 (8 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้