รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-06345


ชื่อวิทยาศาสตร์

Pachyrhizus erosus (L.) Urb.

สกุล

Pachyrhizus Rich. ex DC.

สปีชีส์

erosus

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cacara bulbosa Thouars

Cacara bulbosa Rumphius ex Du Petit-Thouars

Pachyrhizus erosus var. erosus

ชื่อไทย
มันแกว
ชื่อท้องถิ่น
มันแกว มันลาว มันแกวลาว ถั่วบ้ง มันกินหัว (เหนือ)/ หมากบัง เครือเขาขน (เพชบูรณ์)/ หัวแปะกัวะ (ใต้)
ชื่อสามัญ
Jicama/ Yam bean
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น มันแกวเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวไปตามดินหรือกิ่งไม้ ยาวได้มากกว่า 3-10 ม.ลักษณะลำต้นเป็นเถาสีเขียวอ่อน เขียวแก่จนถึงเขียวออกน้ำตาลตามอายุของต้น และมีขนปกคลุม

ใบ ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ในก้านใบเดียวกันเหมือนกับใบถั่วเหลืองหรือถั่วฝักยาว ลักษณะใบเมื่ออ่อนจะบางอ่อน มีสีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่มีลักษณะหนาหยาบ สีเขียวเข้ม ปลายใบไม่เรียบ ใบประกอบแต่ละใบ ยาว 1 ถึง 6 นิ้ว เรียงซ้อนกัน ใบกลางจะสูงกว่า

ดอก กลีบดอกใหญ่ มีสีม่วงแกมน้ำเงินหรือสีขาว ยาว 5/8-7/8 นิ้ว ช่อดอกจะออกเดี่ยว ๆ ที่ซอกใบมีขนสีน้ำตาล

ผล ผลเป็นฝักแบน ตรง มีลักษณะเรียวยาว มีขนเล็กน้อย ฝักอ่อนจะมีสีเขียว และสีเขียวแก่ สีน้ำตาล จนถึงสีดำเมื่อแก่ ยาวประมาณ 3.0-5.5 นิ้ว กว้าง 1/2-5/8 นิ้ว ภายในฝักจะประกอบด้วยเมล็ดประมาณ 4-9 เมล็ด มีลักษณะรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 1/4 ยาวประมาณ 3/8 นิ้ว เมล็ดแก่จะมีพิษอันตรายถึงเสียชีวิตหากรับประทาน

รากและหัว รากที่ติดกับลำต้นซึ่งเรียกว่า หัวหรือหัวมันแกวมีลักษณะเป็นหัวใหญ่ ผิวเรียบ มีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นส่วนที่สะสมอาหาร โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล และน้ำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบอากาศค่อนข้างร้อน มีฝนปานกลาง ในอากาศที่หนาว ระยะเจริญเติบโตจะยาวนาน ในการผลิตหัวต้องการวันสั้น ควรปลูกในระยะต้นถึงปลายฤดูฝน เพื่อเก็บหัวในฤดูแล้ง

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก และประเทศในแถบอเมริกากลาง

การกระจายพันธุ์

ปัจจุบันมีการปลูกมันแกวอยู่เกือบทั่วประเทศ มีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามความเหมาะสมกับภูมิประเทศ จังหวัดที่ปลูกมันแกวมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

มันแกวมีวิตามิน C และเส้นใยสูง มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และป้องกันไข้หวัดได้ดีมาก ส่วนใบของมันแกวนั้นมีคุณสมบัติในการรักษาโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน และยังเป็นยาถ่ายพยาธิที่มีสรรพคุณดีตัวหนึ่ง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2559. “มันแกว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=5&chap=5&page=t5-5-infodetail03.html (20 ตุลาคม 2559)

อภิชาต ศรีสะอาด. 2551. สมุนไพรไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช & พรรณไม้พิษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. บริษัท นาคาอิเตอร์มีเดีย จำกัด. 116 น.

Puechkaset.com. 2016. “มันแกว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://puechkaset.com/มันแกว/ (20 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Pachyrhizus erosus (L.) Urb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-2918 (8 สิงหาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้