รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00657


ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia purpurea L.

สกุล

Bauhinia Plum. ex L.

สปีชีส์

purpurea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bauhinia castrata Blanco

Bauhinia coromandeliana DC.

Bauhinia platyphylla Zipp. ex Span.

ชื่อไทย
ชงโค
ชื่อท้องถิ่น
กะเฮอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ)/ เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ
Orchid tree/ Purple bauhinia
ชื่อวงศ์
FABACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นผลัดใบ เปลือกชั้นนอกสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ เปลือกไม่หลุดออก

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปร่างค่อนข้างกลม กว้าง 5-10 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบเว้าลึกเข้าประมาณครึ่งหนึ่งของแผ่นใบ ก้านใบยาว 3-5 ซม. ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวลปกคลุม ใบสีเขียวอ่อน เส้นใบนูนเด่นออกที่โคนใบ 5-9 เส้น ขอบใบเรียบ

ดอก ออกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นช่อ มีดอกย่อย 6-10 ดอก ดอกตูมรูปขอบขนานปลายแหลมมีสัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน ผิวมีขนนุ่มสีขาวปกคลุม กลีบเลี้ยงแยกออกเป็นสองปาก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบแยกกัน กลีบดอกกว้าง 1.6 ซม. ยาว 5 ซม. ดอกมีสีขาวถึงสีม่วงเข้ม ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นสีแดง ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน เป็นเกสรที่สมบูรณ์ 3 อัน

ผล เป็นฝักแบน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 10-25 ซม. ผิวแข็งขรุขระ เมื่อแก่แห้งแตกเป็น 2 ซีก

เมล็ด รูปกลมแบน สีดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของไทย โตช้า เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด ปลูกริมทะเลได้

ถิ่นกำเนิด

ตอนใต้ของประเทศจีน (ซึ่งรวมถึงฮ่องกง) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

ปากีสถาน อินเดีย สิกขิม ประเทศศรีลังกา พม่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประเทศจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ต้นจะออกดอกเมื่อมีอายุ 3-5 ปี

ระยะเวลาการติดดอก
กันยายน -พฤศจิกายน
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ใบ มีรสเฝื่อน ต้มกินรักษาอาการไอ
ดอก มีรสเฝื่อน เป็นยาระบายดับพิษไข้
ราก มีรสเฝื่อน ต้มกินเป็นยาระบาย และระบายพิษไข้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2542. ไม้ต้นประดับ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

Flora of Pakistan. “Bauhinia purpurea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=5&taxon_id=200011953 (24 กรกฎาคม 2560)

The Plant List. 2013. “Bauhinia purpurea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/ild-823 (24 กรกฎาคม 2560)

wikipedia. “Phanera purpurea.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Phanera_purpurea (24 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้