รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00666


ชื่อวิทยาศาสตร์

Beaumontia grandiflora Wall.

สกุล

Beaumontia Wall.

สปีชีส์

grandiflora

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Beaumontia longiflora Hook.f.

Beaumontia longifolia Lodd. ex Loudon

Echites grandiflorus Roxb.

ชื่อไทย
หิรัญญิการ์
ชื่อท้องถิ่น
เถาตุ้มยำช้าง (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ
Herald trumpet
ชื่อวงศ์
APOCYNACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้เถาเนื้อแข็ง มีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม ลำเถาเลื้อยพาดพันไปตามพุ่มไม้และเรือนยอดของต้นไม้สูงๆ 

ใบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้าม รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 3-11 ซม. ยาว 8-29 ซม. ใบอ่อนมีขน ใบแก่มักเรียบเกลี้ยง

ดอก ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อสั้นที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมอ่อน ดอกย่อยบานไม่พร้อมกัน ขนาดบานเต็มที่กว้างถึง 10 ซม. กลีบรองดอกรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกแผ่กว้าง เชื่อมกันคล้ายรูปลำโพง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรผู้ 5 อัน อยู่ในหลอดกลีบดอก รังไข่มีขนปกคลุม

ผล  ผลเป็นฝักใหญ่ รูปรี กว้าง 5-6 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายมนทู่ เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก ส่วนปลายมีขนยาวอ่อนนุ่มติดอยู่ เป็นกระจุก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าดิบ หรือป่าเบญจพรรณใกล้ลำธาร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้

ถิ่นกำเนิด

จีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ลาว เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบเอเซียอาคเนย์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ หรือตอนกิ่ง ต้องใช้ฮอร์โมนในการเร่งการออกราก เวลาที่ใช้ประมาณ 2 เดือน ดังนั้นถุงที่ใช้ทำตุ้มตอนควรเป็นถุงที่หนากว่าปกติ

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วๆ ไป

เมล็ด เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื่องจากมีสารจำพวก "คาร์ดีโนไลด์" หากรับประทานมากอาจถึงตายได้

หมายเหตุ

ไม้เถาพวกหิรัญญิการ์ในประเทศไทยมี 3-4 ชนิด มีดอกใหญ่สีขาวคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่รูปร่างของกลีบดอกและใบ

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “หิรัญญิการ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2372 (1 เมษายน 2560)

พรรณไม้บริเวณพระตำหนักเรือนต้น ใน ห้องสมุด อพ.สธ. 2547. “หิรัญญิการ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.rspg.org/palace/chitralada/cld6-2_07.htm (1 เมษายน 2560)

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. “หิรัญญิการ์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/index.php/linkoldfragrant-2/345-beaumontia (1 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Beaumontia grandiflora ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-20251 (1 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้