รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-00877


ชื่อวิทยาศาสตร์

Brassica oleracea L. var. botrytis L.

สกุล

Brassica L.

สปีชีส์

oleracea

Variety

botrytis

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กะหล่ำดอก
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Caulifower
ชื่อวงศ์
BRASSICACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น กะหล่ำดอกเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีการแตกแขนง ส่วนของลำต้นยาวได้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกคล้ายดอกกุหลาบซ้อน มีใบประมาณ 15-25 ใบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ใบกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร และยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ผิวใบเรียบมีชั้นของไขห่อหุ้มผิวใบอยู่ แผ่นใบเป็นสีเทาจนถึงสีเขียวปนฟ้า เส้นกลางใบและเส้นใบเป็นสีขาว ไม่มีก้านใบ

ดอก ดอกที่อยู่บริเวณปลายยอด ช่อดอกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายโดม ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองอัดกันแน่น ก้านช่อดอกสั้นและฉ่ำน้ำ ดอกมีครบทั้ง 4 ส่วน เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเป็นรูปช้อนสีเหลืองจนถึงสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน มี 2 รังไข่เชื่อมติดัน ก้านช่อดอกและก้านดอกพองขยายออกรองรับกระจุกดอก

ผล ผลแตกแบบผักกาด กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีเมล็ดประมาณ 10-30 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด  แต่จะเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วน เหนียว และควรเป็นดินที่มีการอุ้มน้ำและอินทรีย์วัตถุได้ดี ตลอดจนการระบายน้ำและอากาศดีไม่ทนต่อสภาพดินเป็นกรดจัด

ถิ่นกำเนิด

กะหล่ำดอกเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

ใบ กระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อบุผนังได้เร็ว รักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ลดการอักเสบของท่อน้ำดี ป้องกันและรักษานิ่วในถุงน้ำดี ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด

ดอก ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยแก้อาการปวดศีรษะชนิดเรื้อรังช่วยรักษาโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบช่วยรักษาแผลในปาก รักษาอาการเจ็บคอ แก้คออักเสบ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง โรคเรื้อนกวาง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพืชผัก บทความเกษตร. 2017. “กะหล่ำดอก (Caulifower).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.vegetweb.com/กะหล่ำดอก/ (21 กรกฎาคม 2560)

thaiherbal. 2014. “กะหล่ำดอก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/1290/1290 (21 กรกฎาคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้